เห็ดตับเต่า (ชื่อวิทยาศาสตร์ Thaeogyroporus porentosus ) หรือทางภาคเหนือเรียกว่า เห็ดห้า ภาคอีสานเรียกว่า เห็ดน้ำผึ้ง เป็นเชื้อราพวกเอ็กโตไมคอร์ไรซ่า (Ectomycorrhiza) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อรากับระบบรากของพืชชั้นสูง โดยอิงอาศัยกันและกัน
โดยพบว่าเห็ดตับเต่าสามารถอยู่ร่วมกับไม้ยืนต้นหลายชนิด เช่น
- ไม้ป่า ได้แก่ พืชป่าหลายชนิดในป่าทาม ป่าเต็งรัง ยางนา สะแบง (เหียง) กระบาก หูลิง ไทร พันธุ์ไม้ตระกูลยาง สะแกนา พะยอม ชาด มะแซว กระบก ไม้แดง ต้นขาม มะค่า เสียว กระทุ่ม ชบา เทียนทอง (เทียนหยด)
- สวนไม้โตเร็ว เช่น กระถินยักษ์ กระถินเทพา
- ไม้ผล ได้แก่ มะม่วง มะกอกน้า หว้า ชมพู่ แค ทองหลาง มะไฟ มะกอกบ้าน น้อยหน่า
- ส้มโอ ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วงหิมพานต์ กระท้อน ส้ม และสวนผสมผสาน เช่น สวนทุเรียนยกร่อง
- ไม้ยืนต้นประดับ ได้แก่ ชมพูพันธุ์ทิพย์ รำเพย ยี่โถ ชบา ลำดวน
- ไม้เศรษฐกิจอื่น เช่น ยางพารา ยูคาลิปตัส
- ไม้ล้มลุก เช่น โสน ฝ้ายน้ำ
การรบกวนระบบนิเวศตามธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงระบบการปลูกพืชจากสวนผสมผสานเป็นการปลูกพืชหรือไม้ผลเชิงเดี่ยว การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่งผลต่อการลดลงของเห็ดตับเต่า และส่งผลต่อเนื่องทำให้ไม้ยืนต้นเจริญเติบโตลดลง
การขยายพันธุ์เห็ดตับเต่า โดยวิธีธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นได้หลายทาง เช่น
1) โดยอาศัยตัวเห็ดเอง จากสปอร์ของเห็ดที่แก่แล้ว ถูกฝนชะล้างไปในบริเวณใกล้เคียงที่มีพืชอาศัยอยู่ใกล้กัน หรือจากเส้นใยเห็ดราที่แตกแขนงไปในดิน วิธีนี ต้องมีพืชอาศัยชนิดเดียวกันเกิดใกล้ชิดติดกัน การแพร่ระบาดไปได้ช้าแต่มีโอกาสแน่นอนกว่า
2) โดยอาศัยสัตว์ที่มากินดอกเน่าแล้วติดเอาสปอร์ของเห็ดไปแพร่ระบาดในที่ห่างไกล วิธีนี การกระจายพันธุ์ไปได้ไกลกว่าแต่โอกาสที่จะไปตกบริเวณที่มีพืชอาศัยน้อยลง
ส่วนการจัดระบบนิเวศให้เกิดเห็ดตับเต่าโดยมนุษย์นั้น โดยปลูกเชื้อให้แก่ต้นพืชอาศัย ซึ่งสามารถทำดังนี้
1. เลือกชนิดของต้นไม้ที่สามารถอยู่ร่วมกับเชื้อเห็ดตับเต่าได้
2. ใส่เชื้อเห็ดลงไปในส่วนของรากต้นไม้เหล่านั้น ซึ่งสามาถทำได้หลายวิธี เช่น
– ขูดเอาผิวดินที่เคยมีเห็ดขึ้น และเห็ดเก่าปล่อยสปอร์ไว้ เอาดินดังกล่าวมาใส่ตรงโคนต้นไม้
ข้างต้น
– นำเห็ดแก่จนมีสปอร์มาขย้าหรือล้างน้ำให้สปอร์หลุด แล้วเอาน้ำล้างดอกเห็ดมาเจือจาง
ด้วยน้ำ ราดตรงโคนต้นไม้ที่เป็นพืชอาศัย ซึ่งจะทำให้ต้นไม้ต้นเล็กเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยการรดน้ำให้ความชื้นจะทำให้เกิดเห็ดตับเต่าขึ้นใน
– นำดอกเห็ดแก่หรืออ่อนก็ได้ใส่เครื่องปั่นผลไม้ ปั่นจนละเอียดแล้วผสมน้ำรดโคน
ต้นไม้
– เพาะเลี้ยงเส้นใยเชื้อเห็ดในอาหารวุ้นหรืออาหารเหลว เมื่อได้ปริมาณมากพอจึงนำไปปั่นกับน้ำแล้วไปรดบริเวณต้นไม้
– ใช้น้ำล้างเส้นใยจากหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง ราดบริเวณรากฝอยบริเวณชายพุ่มของไม้ยืนต้น
เห็ดตับเต่าสามารถออกดอกได้ตลอดปีถ้ามีอาหารและความชื้นเพียงพอ โดยสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตนั้น ควรมีค่า pH ประมาณ 5.5-6.5 อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 25-30 องศาเซลเซียส มีปุ๋ยอินทรีย์ตามธรรมชาติ และควบคุมแปลงปลูกต้นไม้ให้มีความชื้นหรือแห้งสลับกัน โดยการให้น้ำที่เลียนแบบฝนตกธรรมชาติ เช่น การใช้ระบบสปริงเกลอร์เลียน จะทำให้เกิดเห็ดตับเต่าบริเวณทรงพุ่มไม้อาศัยหลังจากการให้น้ำ 2-3 สัปดาห์ เป็นต้น
ดอกเห็ดนำมาปรุงอาหารได้หลายประเภท รวมทั้งนำมาแกง แปรรูปบรรจุกระป๋อง หรือทำให้แห้ง ก็ได้ เห็ดตับเต่ายังมีสรรพคุณทางยา โดยแพทย์แผนโบราณของไทยนำเอามาปรุงเป็นยา เพื่อบำรุงกำลัง บำรุงตับและบำรุงปอด กระจายโลหิต ดับพิษร้อนภายใน
ที่มา : เรียบเรียงจาก โครงการวิจัยและพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ โดย ศิริพร หัสสรังสี และคณะ (2555) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร