สวนชีววิถี(Growing Diversity Park)
พื้นที่สื่อสารประเด็นความมั่นคงทางอาหาร
ความหลากหลายทางชีวภาพ และเกษตรนิเวศ
แหล่งข้อมูลและฝึกปฏิบัติ
ห้องเวิร์คชอป
ในพื้นที่ที่เรียนรู้จริง
ประสานงานองค์กร
ที่ทำการของหน่วยงานที่ขับเคลื่อนงานทางสังคมประเด็นเกษตรและอาหาร
ผักยืนต้น
รวบรวมพันธุกรรม
เพื่อสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
ร้านค้าชุมชน
แหล่งรวบรวมสินค้าที่เราเชื่อมั่น
จากกลุ่มกษตรกรรายย่อย
เน้นความหลากหลาย
ศูนย์รวมความหลากหลาย
ทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์
พื้นที่บริการชุมชน
ศูนย์กลางกิจกรรม
เพื่อชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
นิเวศร่องสวนโบราณ
ใกล้ชิดธรรมชาติ
ในพื้นที่เกษตรดั้งเดิมเมืองนนท์
แปลงทดลอง
แบ่งพื้นที่ทดลองผลิตอาหาร
ในพื้นที่สวนกินได้
พื้นที่รวมพันธุ์ผักยืนต้นที่หลากหลาย
ผักยืนต้นในสวนชีววิถี
กิจกรรมในสวนของเรา
11 พรรค ประกาศนโยบายเกษตรความมั่นคงทางอาหาร รับเลือกตั้ง66
เวทีนโยบายเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งจัดขึ้นโดย สภาเกษตรกรแห่งชาติ มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล มูลนิธิเด็กเยาวชนและครอบครัว เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร ร่วมกับ 101 PublicPolicy และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนของแผนงานอาหารเพื่อสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 11 พรรคการเมือง ได้เสนอนโยบายที่น่าสนใจหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต การเพิ่มพื้นที่เกษตรยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์ รัฐสวัสดิการที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนการเกษตรได้ง่ายขึ้น รวมทั้งบางพรรคที่สานต่อการลดการใช้สารเคมี และการแบนสารเคมีอันตราย ดังนี้ ก้าวไกล ยกระดับเพิ่มงบอาหารกลางวัน 30 บ. ครอบคลุมถึงระดับมัธยมฯ ที่ผ่านมาการสนับสนุนภาคเกษตกรรม จะผ่านเงินเงินอุดหนุนผ่านพืชหลักที่เพาะปลูกมาโดยตลอด แต่เกษตรกรยังมีปัญหาเรื่องรายได้และความเหลื่อมล้ำเหมือนเดิม ดังนั้นสิ่งที่พรรคก้าวไกลเห็นว่า เกษตรกร ควรจะอยู่ได้เลือกได้ โดยแยกการช่วยเหลือของรัฐบาลกับพืชที่ปลูกออกจากกัน เราสนับสนุนสวัสดิการถ้วนหน้า เบี้ยผู้สูงอายุจาก 600 บาท เป็น 3,000 บาทต่อเดือนภายใน 4 ปี ขณะที่สวัสดิการเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าให้คนละ 1,200 บาทต่อเดือน เรื่องของปัญหาโภชนาการ ภาวะเด็กเล็กที่ขาดสารอาหารซึ่งส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่ยากจน ยกระดับเพิ่มงบอาหารกลางวันเป็น 30 บาทต่อคนต่อวัน […]
สนุก-เล่น-เรียน-รู้ รับบท “นักสืบอาหาร”
สวนชีววิถี (Growing Diversity Park) ตำบลไทรม้า นนทบุรี ทีมงานสวนชีววิถี ได้มีโอกาสต้อนรับน้อง ๆ นักเรียนระดับประถมศึกษา ของโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน “นักสืบอาหาร” ขึ้นในวันที่ 21 -22 ธันวาคม 2565 เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ประเด็นความมั่นคงอาหาร อาหารปลอดภัย และความหลากหลายของพืชอาหารและสิ่งมีชีวิตในนิเวศสวน โดยได้ออกแบบเนื้อหาให้มีความสอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ อีกทั้งยังคำนึงถึงการกระตุ้นให้เกิดความรอบรู้ทางด้านสุขภาพและการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ลดหวาน-มัน-เค็ม ซึ่งจะเป็นทักษะที่นักเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และลดความเสี่ยงของการเป็นโรค NCDs 6 โรงเรียนในเขตอำเภอเมืองนนทบุรีที่เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ กิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้มีทั้งสิ้น 4 ฐานสำคัญ ฐานที่ 1 ดอก ใบ กินได้ พี่เลี้ยงประจำกลุ่มอธิบายสาระเกี่ยวกับพืชและวัชพืชในนิเวศสวนที่สามารถนำมาทำเมนูผักอบชีส 2 ชนิด ได้แก่ ผักไชยาหรือคะน้าแม็กซิโก และผักโขมไทยหรือผักโขมบ้าน ซึ่งเป็นผักพื้นถิ่นในประเทศเม็กซิโกเป็นไม้ทรงพุ่ม สูงประมาณ 3 เมตร มีใบคล้ายกับใบมะละกอ สีเขียวเข้ม ส่วนที่นำมารับประทานคือยอดอ่อน ใบกรุบกรอบ ไม่มีรสขม มีกลิ่นเหม็นเขียวเล็กน้อย รสชาติจืดคล้ายคะน้า […]
‘เทศกาลสวนผักคนเมือง’ 2565 – ‘เมือง-ฟาร์ม-สัมพันธ์’
กลับมาอีกครั้งกับ วาระสำคัญประจำปีของโครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่าย ปีนี้เรากลับมาในหัวข้อ ‘เมือง-ฟาร์ม-สัมพันธ์’ ด้วยอยากชวนทุกคนมาร่วมนิยาม ‘ความสัมพันธ์’ ระหว่างพื้นที่อาหารของเมืองกับผู้คนทั้งในเมืองและรอบเมืองให้มีความหมายกว้างและลึกซึ้งกว่าที่เคย…. และเหมือนทุกๆ ปี เทศกาลสวนผักคนเมืองพร้อมนำเสนอกิจกรรม และพื้นที่สื่อสารเรื่องระบบอาหารยั่งยืนในรูปแบบอันหลากหลาย อาทิ – เสวนาว่าเรื่องการพัฒนาระบบอาหารยั่งยืนในหลากมิติ – Intensive เวิร์กชอป เกษตรในเมืองและการพึ่งตนเองในเมือง – เวิร์กชอป อาหารจากแป้งข้าวพื้นบ้าน ตอน ‘ข้าวใหม่จากแดนใต้’ – Urban Foraging ครั้งที่ 2 ตอน “ตู้ยาริมทาง” – อบรมการดูแลสุขภาพแบบฉบับทางเลือกในภาวะลองโควิด – เวิร์กชอปและการแสดง เคลื่อนไหวร่างกายไปกับ(ฟาร์ม)สัมพันธ์ – ลานสวนผักบำบัด – ลานกิจกรรมเด็กและครอบครัว – City Farm Market พบกับ เกษตรกรรายย่อย ผู้ประกอบการขนาดเล็ก เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกและสวนผักคนเมือง.. วันเสาร์ที่ 28-วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2565เวลา: […]
ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี รับปากยังไม่นำ CPTPP เข้าครม. หากยังไม่มีการศึกษารอบด้าน
นนทบุรี, 20 ธันวาคม 2564 – การเข้าหารือของนาย ดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) พร้อมคณะ กับกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) และองค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคม #No CPTPP [1] ต่อกรณีการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกของความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP ได้ข้อสรุปว่า จะยังไม่มีการนำ CPTPP เข้าให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเพื่อยื่นเจตจำนงเข้าร่วมความตกลงนี้กับประเทศสมาชิกหากยังไม่มีการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน เอฟทีเอ ว็อทช์ และเครือข่ายฯ เป็นตัวแทนของประชาชนกว่า 400,000 [2] คนที่ร่วมลงชื่อคัดค้านการที่ไทยจะเข้าร่วมความตกลง CPTPP ต้อนรับการเข้าพบหารือของดอน ปรมัตถ์วินัย และคณะ พูดคุยถึงข้อกังวลในผลกระทบที่รุนแรงและระยะยาวต่อประชาชน และนำเสนอให้กนศ.ยุติความพยายามที่จะนำเรื่องการเข้าร่วมความตกลง CPTPP ให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ดอน ปรมัตถ์วินัย ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้รับทราบถึงจุดยืนของภาคประชาสังคม และกล่าวว่า “เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่เกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วนไม่ใช่รัฐบาลอย่างเดียว ข้อมูลที่กนศ.ให้มากับข้อมูลของ FTA Watch และองค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคม #NoCPTPP นั้นแตกต่างกันมาก […]
เครือข่ายภาคประชาสังคม #NoCPTPP ชี้ #ฉิบหายแน่ หากรัฐบาลตัดสินใจเข้าร่วม CPTPP
นนทบุรี, 2 ธันวาคม 2564 – เครือข่ายภาคประชาสังคม #NoCPTPP [1] ในฐานะตัวแทนจากประชาชนกว่า 400,000 เสียง[2] จัดงาน “ความฉิบหายจะมาเยือน Say No to CPTPP บอกแล้วไม่เอา CPTPP” ที่สวนชีววิถี-สวนผักคนเมือง ไทรม้า จังหวัดนนทบุรี เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รับฟังเสียงของประชาชนที่คัดค้านการเข้าร่วมเป็นภาคี CPTPP มานานกว่า 2 ปี โดยยกเลิกการพิจารณาเข้าร่วม CPTPP ซึ่งริดรอนสิทธิของประชาชนและตอกย้ำความเหลื่อมล้ำในประเทศนี้ในทันที ในขณะที่วันที่ 8 ธันวาคมที่จะถึงนี้จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เพื่อชงเรื่องให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณายื่นหนังสือแสดงความจำนงเข้าร่วมความตกลง CPTPP หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ในวันในวันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564 กรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธาน FTA Watch ตัวแทนจากเครือข่าย #NoCPTPP กล่าวว่า“เครือข่าย #NoCPTPP ต้องการเห็นการตัดสินใจของรัฐบาลที่เห็นผลประโยชน์ของประชาชน […]