เหรียง

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อสามัญ : Tree bean

ชื่ออื่น ๆ : กะเหรี่ยง kariang (Peninsular) นะกิง na-king (Malay-Peninsular) นะริง na-ring (Malay-Peninsular) เรียง riang (Peninsular) สะเหรี่ยง sariang (Peninsular) เหรียง riang (Peninsular)

วงศ์ : FABACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parkia timoriana (DC.) Merr.

ชื่อพ้องวิทย์ : –

ลักษณะสำคัญ : เรือนยอดแผ่กว้าง เป็นไม้ผลัดใบช่วงสั้นๆ

ระบบนิเวศและการกระจาย : กระจายพันทางตะวันออกเฉียงเหนืออินเดีย บังคลาเทศ เมียนมา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี ในไทยพบที่ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ความสูงถึง 600 เมตร

การเพาะปลูก : เติบโดตได้ดีในดินที่อุดมสมบูรณ์ pH ช่วง 5-7 ค้างคาวช่วยผสมพันธุ์

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด เมล็ดมีเยื่อหุ้มและงอกได้หลายสัปดาห์หลังจากหว่านเมล็ด เตรียมเมล็ดโดยปกติจะเทน้ำร้อนที่เกือบเดือดลงบนเมล็ดเล็กน้อย ระวังอย่าให้สุก แล้วแช่ในน้ำอุ่น 12-24 ชั่วโมง เมล็ดจะบวมและมีความชื้น ถ้ายังไม่ได้ให้ทำรอยฉีกบนเยื่อหุ้มเมล็ดอย่างระวัง แล้วแช่ต่ออีก 12 ชั่วโมง

ส่วนของพืชที่ใช้ประโยชน์ : เมล็ด เมล็ดเพาะงอก

แหล่งเก็บหา : สวนสมรม

เมนูอาหารผักยืนต้น

ลูกเหรียง หรือ หน่อเหรียง ได้จากเมล็ดแห้งนำมาเพาะงอก 4-5 วัน ลักษณะคล้ายถั่วงอกหัวโต รสมัน เนื้อแน่น ดองหรือกินสดเหนาะน้ำพริกก็ได้ หรือจะนำมาปรุงอาหารก็ได้หลากหลายเมนู ผัดเผ็ด แกงเผ็ด แกงกะทิ แกงส้ม เมนูยอดนิยมที่หลายท่านคงเคยกินแกงพริกกระดูกหมูกับหน่อเหรียง

จากหนังสือ 50 สูตรอร่อยกับผักยืนต้น จาก 8 พื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร หน้า 167
จาก หนังสือผักยืนต้น กินผักอายุยืน โลกอายุยาว โดย กฤช เหลือลมัย หน้า 92 93

ข้อมูลทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการของเหรียงในส่วนที่รับประทานได้ ต่อ 100 กรัม

พลังงาน 88 แคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัมแกงหมูลูกเหรียง
โปรตีน 7.5 กรัม
ไขมัน 3.5 กรัม
เส้นใยอาหาร 1.3 กรัม
น้ำ 79.6 กรัม
วิตามินเอ 22 หน่วยสากล
วิตามินบี 1 0.06 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.62 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.1 มิลลิกรัม
วิตามินซี 83 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 182 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 2.0 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 3.8 มิลลิกรัม

แหล่งที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย. ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม

สรรพคุณทางยา

การใช้ประโยชน์อื่นๆ

  • ให้ร่มเงาในสวนกาแฟและเรือนเพาะชำ
  • ฝักตำกับน้ำใช้สระผม