สะเดา

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อสามัญ : Neem

ชื่ออื่น ๆ : กะเดา (Peninsular) ควินิน (General) จะตัง (Suai) สะเดาอินเดีย (Bangkok) สะเลียม (Northern)

วงศ์ : MELIACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss.

ชื่อพ้องวิทย์ : Antelaea azadirachta (L.) Adelb. , Antelaea canescens Cels ex Heynh. , Antelaea javanica Gaertn. , Azadirachta indica subsp. vartakii Kothari, Londhe & N.P.Singh , Melia azadirachta L. , Melia fraxinifolia Salisb. , Melia hasskarlii K.Koch , Melia indica (A.Juss.) Brandis , Melia japonica Hassk. , Melia parviflora Moon , Melia pinnata Stokes

ลักษณะสำคัญ : ไม้โตเร็ว เรือนยอดแผ่กว้าง แน่น ทรงพุ่มรูปไข่รีหรือกลม แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย 4-6คู่ ขนาด 4-7×1.5-2.5 ซม. ใบมักจะโค้ง ฐานใบไม่สมมาตร รูปหอก ปลายและโคนแหลม ขอบจัก ใบแก่ผิวเรียบเกลี้ยง ด้านบนเป็นมัน ดอก 0.5 ซม. ขาวหรือเหลืองอ่อน ช่อดอกออกเป็นกลุ่มในซอบใบบนๆ กลีบเลี้ยงกลม 5-6 พู กลีบดอกแคบ 5-6 กลีบ หลอดเกสรตัวผู้รูปทรงกระบอก มีอับเรณู 10 อัน ด้านนอกเรียบ ด้านในมีขน ก้านเกสรตัวเมียยาวปลายแยกเป็น 3-6พู รังไข่มีหมอนรองดอกรูปถ้วย ผลกลมรี 1.3-1.5 ซม. ขนาดปลายนิ้วก้อย สีเขียว เมื่อแก่สีเหลือง ชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง

ระบบนิเวศและการกระจาย : พบทางอินเดีย บังคลาเทศ เมียนมา ในไทยพบในป่าผสมผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง

การเพาะปลูก : เติบโตได้ดีในที่ 26-40 oC ทนได้ 14-46 oC ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี 450-1200 มม. ทนได้ 200-2000 มม. ชอบดินระบายน้ำดี แดดจัด ทนต่อดินไม่ดีและแล้งเมื่อต้นตั้งตัวได้แล้ว จะตายอย่างรวดเร็วเมื่อน้ำท่วมขัง และช่วงฤดูแล้งที่ระดับน้ำใต้ดินลึกกว่า 18 เมตร ทนต่อดินเค็มได้ปานกลาง ทนร่มเงาได้ช่วง 2-3 ปีแรก pH ช่วง 5.5-7 ทนได้ 5-7.5 ต้นโตเร็วสูงได้ 4-7 เมตร หลังจาก 3 ปี เริ่มออกดอกติดผลเมื่ออายุ 4-5 ปี ถ้าจะเก็บเกี่ยวเชิงพาณิชย์ หลังปีที่ 10 ขึ้นไป มีผึ้งและแมลงช่วยผสมพันธุ์ พืชทนต่อภาวะมลพิษได้ดีมาก

การขยายพันธุ์ : หว่านเมล็ดทันทีหลังผลสุกร่วง ไม่จำเป็นต้องเตรียมมากนัก แม้ว่าการทำให้เมล็ดแห้งหรือทำความสะอาดจะช่วยเพิ่มอัตราการงอกได้มาก คลุมด้วยปุ๋ยหมักหนาประมาณ 1 ซม. เมล็ดแก่เต็มที่จะงอกภายใน 1 สัปดาห์ อัตราการงอก 75-90 % ย้ายกล้าเมื่อต้นสูงประมาณ 5 ซม. หรือตอนกิ่ง ชำราก

ส่วนของพืชที่ใช้ประโยชน์ : ผล ยอดอ่อน ดอก

แหล่งเก็บหา : หัวไร่ปลายนา สวนสมรม สวนยกร่อง ข้างถนน สวนสาธารณะ

ความเป็นพิษ : สารสกัดสะเดามีพิษต่อปลา สัตว์น้ำ และแมลงศัตรูพืช ระวังการใช้ประโยชน์ สามารถสลายตัวเมื่อโดนความร้อนหรือแดดจัด

หมายเหตุ : บางทีเรียกสะเดาชนิดนี้หลายแบบ เช่น สะเดาดง เกิดในป่าเบญจพรรณ ยอดออกสีแดง รสขมกว่า , สะเดาใหญ่ (Turpina parwa) ใบโตกว่าทุกชนิด ดอกเป็นช่อโต ฤทธิ์แรงกว่าสะเดาบ้าน , สะเดาอินเดีย ใบย่อยแคบและเรียวยาวกว่าสะเดาบ้าน ขอบจักมักโค้งงอนไปด้านหลังเล็กน้อย สรรพคุณทางยาคล้ายคลึงกัน

เมนูอาหารผักยืนต้น

จาก หนังสือผักยืนต้น กินผักอายุยืน โลกอายุยาว โดย กฤช เหลือลมัย หน้า 144 145

ข้อมูลทางโภชนาการ

สรรพคุณทางยา

ใบอ่อน : รสขม แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย พุพอง

ใบแก่ : รสขม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าแมลงศัตรูพืช

ก้าน : รสขม แก้ไข้ บำรุงน้ำดี แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้ป่า

ดอก : รสขม แก้พิษโลหิต พิษกำเดา แก้ริดสีดวง เป็นเม็ดยอดคันในลำคอ บำรุงธาตุ

ผล : รสขมเย็น บำรุงหัวใจให้เต้นเป็นปกติ ฆ่าแมลงศัตรูพืช

ผลอ่อน : รสขมปร่า แก้ลมหทัยวาตะ ลมสัตถวาตะ เจริญอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ

เมล็ด : รสขม แก้โรคผิวหนัง

เปลือกต้น : รสขมฝาดเย็น แก้บิดมูกเลือด แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้กระษัย แก้ในกองเสมหะ

กระพี้ : รสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีพิการ แก้คลั่งเพ้อ

แก่น : รสขมฝาดเย็น แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ไข้จับสั่น ไข้ตัวร้อน บำรุงโลหิต บำรุงไฟธาตุ

ราก : รสขมฝาดเย็น แก้เสมหะจุกคอ แก้เสมหะที่เกาะแน่นในอก

เปลือกราก : รสขมฝาด แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง

ยาง : รสขมเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้

การใช้ประโยชน์อื่นๆ

  • เป็นไม้อเนกประสงค์ ทนแล้งด้วยระบบรากที่ดึงธาตุอาหารจากดินชั้นล่างได้ จึงเป็นต้นไม้เหมาะสำหรับการตรึงเนินทราย
  • เรือนยอดขนาดใหญ่ให้ร่มเงาที่มีประสิทธิภาพ และกันลมดีปลูกกันอย่างแพร่หลายเป็นต้นไม้ริมถนนในเมืองและทางหลวง
  • เกษตรกรในอินเดียใช้เศษที่เหลือจากการสกัดน้ำมันจากเมล็ดเป็นปุ๋ยอินทรีย์และสารปรับปรุงดิน เชื่อกันว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยไนโตรเจนโดยการลดอัตราไนตริฟิเคชันและยับยั้งศัตรูพืชในดินรวมทั้งไส้เดือนฝอย เชื้อรา และแมลงใบไม้และกิ่งไม้ขนาดเล็กใช้เป็นวัสดุคลุมดินและปุ๋ยพืชสด
  • ใบแห้งเป็นสารไล่แมลงใช้เหมือนลูกเหม็นในตู้ผ้าลินินและวางไว้ในตู้หนังสือห้องสมุด
  • ต้นสะเดาเป็นยาขับไล่แมลงที่มีประสิทธิภาพสูง สารประกอบหลักเรียกว่า azadirachtin สารสกัดทำจากใบและส่วนอื่นได้ แต่เมล็ดมีความเข้มข้นสูงสุด ทำหน้าที่ขับไล่แมลง ยับยั้งการกินอาหาร และขัดขวางการเจริญเติบโตของแมลง การเปลี่ยนแปลงและการสืบพันธุ์ สูตรที่ใช้สะเดามักไม่ฆ่าแมลงโดยตรง แต่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมันในรูปแบบที่สำคัญเพื่อลดความเสียหายของศัตรูพืชและลดศักยภาพในการสืบพันธุ์
  • Azadirachtin มีผลต่อสรีรวิทยาของแมลงโดยเลียนแบบฮอร์โมนธรรมชาติ แสดงให้เห็นว่ามีผลต่อการผลิตไข่และอัตราการฟักไข่ สามารถยับยั้งการลอกคราบ ป้องกันไม่ไห้ตัวอ่อนพัฒนาเป็นดักแด้ สารสกัดทำงานได้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปกป้องพืชจากการผลัดใบ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อแมลงผสมเกสรที่มีประโยชน์เช่น ผึ้ง
  • น้ำมันสกัดจากเมล็ดเรียก น้ำมัน margosa มีคุณสมบัติในการฆ่าแมลงและยังใช้แต่งผม ใช้เป็นเชื้อเพลิงในตะเกียงอีกด้วย น้ำมันมีการผลิตในเอเชียมานานแล้วในระดับอุตสาหกรรมสบู่ เครื่องสำอาง ยา และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ไม่สามารถบริโภคได้ บางครั้งผลผลิตน้ำมันเมล็ดจะสูงถึง 50% ของน้ำหนักเมล็ด
  • ยางที่ได้จากเปลือกไม้ถูกเติมในสบู่ ยาสีฟัน และโลชั่นทาผิว กิ่งไม้ใช้เป็นแปรงสีฟันและพบว่ากิ่งไม้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคปริทันต์
  • เนื้อไม้มีคุณสมบัติไล่แมลง ไม้ถูกนำมาใช้ทำตู้เสื้อผ้า ตู้หนังสือ รวมถึงกล่องบรรจุ อีกทั้งยังทนปลวกจึงนำมาทำเสา งานก่อสร้าง และยังทำถ่านคุณภาพดีเยี่ยม