มะดัน

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อสามัญ : madan

ชื่ออื่น ๆ : –

วงศ์ : CLUSIACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia schomburgkiana Pierre

ชื่อพ้องวิทย์ : –

ลักษณะสำคัญ : ลำต้นมีขนาดเล็กถึงกลาง เนื้อไม้ค่อนข้างเหนียว แตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น และแตกกิ่งมากจนมีลักษณะเป็นทรงพุ่มหนา กิ่งมีลักษณะค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยม ผิวกิ่งค่อนข้างดำ กิ่งสามารถโค้งงอได้ง่าย ใบเดี่ยว 3-5×6-9 ซม. ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันบนกิ่ง รูปร่างค่อนข้างรียาว ปลายใบมน โคนใบสอบ มีแผ่นใบ และขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสดถึงเขียวแก่ตามอายุใบ ดอกออกเป็นช่อ ออกตามง่ามใบ แต่ละช่อมีดอกประมาณ 3-6 ดอก ประกอบด้วยดอกเพศผู้ และดอกสมบูรณ์เพศ แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 4 กลีบ และตัวดอกที่เป็นกลีบดอก 4 กลีบ กลีบดอกมีสีชมพูอมแดง ผล 3-5×2-3 ซม. มีลักษณะค่อนข้างกลม และยาวรี ผิวเปลือกผลมีสีเขียวเข้ม และเป็นมัน เนื้อผลค่อนข้างหนา และมีรสเปรี้ยวจัด เมล็ดมี 3-4 เมล็ด กลมรี และส่วนปลายค่อนข้างแหลม เมื่อผลยังอ่อน เมล็ดจะมีสีขาว เมื่อผลแก่ เมล็ดจะมีสีน้ำตาล และแข็ง

ระบบนิเวศและการกระจาย : พบได้ในสวนผลไม้ สวนหลังบ้าน ตั้งแต่ภาคกลางจนถึงภาคใต้ของไทย มักปลูกริมน้ำ พื้นที่ชุ่มชื้น ริมห้วยในป่าดิบแล้ง

การเพาะปลูก : เป็นพืชเขตร้อนชื้น ชอบดินชื้นแฉะ

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด งอกง่ายมาก แต่ช่วงแรกโตช้า อาจใช้เวลาถึง 6 เดือน หรือตอนกิ่ง

ส่วนของพืชที่ใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อน และผล

แหล่งเก็บหา : สวนยกร่อง สวนสมรม ริมน้ำ

เมนูอาหารผักยืนต้น

ผลมะดันรสเปรี้ยว ใช้ปรุงรสอาหารเช่น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกลงเรือ ต้มส่้ม ต้มยำ แกงส้ม เป็นต้น ยอดและใบอ่อนรับประทานเป็นผักได้ ใส่ต้มต่างๆ เพื่อปรุงรสเปรี้ยว หรือจะนำมาต้มมาแกงอย่างที่แกงใบชะมวงก็อร่อยไม่แพ้กัน

จากหนังสือ 50 สูตรอร่อยกับผักยืนต้น จาก 8 พื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร หน้า 97
จาก หนังสือผักยืนต้น กินผักอายุยืน โลกอายุยาว โดย กฤช เหลือลมัย หน้า 106 107
จาก หนังสือผักยืนต้น กินผักอายุยืน โลกอายุยาว โดย กฤช เหลือลมัย หน้า 126 127

ข้อมูลทางโภชนาการ

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะดัน ต่อ 100 กรัม

คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัมใบมะดัน
ไขมัน 0.1 กรัม
โปรตีน 0.3 กรัม
เส้นใย 0.4 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 431 หน่วยสากล
วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินซี 5 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 17 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 0 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบอ่อนมะดัน ต่อ 100 กรัม

คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัมมะดัน
ไขมัน 0.1 กรัม
โปรตีน 0.3 กรัม
วิตามินเอ 225 หน่วยสากล
วิตามินบี 1 0.01 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.02 มิลลิกรัม
วิตามินซี 16 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 103 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางยา

รากและใบ : รสเปรี้ยว แก้กระษัย แก้ระดูเสีย กัดเสมหะ ขับฟอกโลหิต แก้หวัด ระบายท้อง

รกมะดัน : รสเปรี้ยว แก้หวัด แก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ ฟอกโลหิต แก้ระดูเสีย กัดเสมหะ

ลูก : รสเปรี้ยว แก้ศอเสมหะ ขับเสมหะ ระบายท้อง ฟอกโลหิตระดู

การใช้ประโยชน์อื่นๆ

  • ปลูกเป็นแนวรั้วทึบ