ชะอม

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อสามัญ : –

ชื่ออื่น ๆ : ชะอม cha om (Central), ผักหละ phak la (Northern), ผักหา phak ha (Mae Hong Son), ฝ่าเซ็งดู่ fa-seng-du (Karen-Mae Hong Son), พูซูเด๊าะ phu-su-do (Karen-Mae Hong Son), โพซุยโดะ pho-sui-do (Karen-Kamphaeng Phet), อม om (Peninsular)

วงศ์ : FABACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senegalia pennata (L.) Willd. subsp. insuavis (Lace) I. C. Nielsen

ชื่อพ้องวิทย์ : Acacia pennata (L.) Willd.

ลักษณะสำคัญ : ไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดใหญ่ โตเร็ว สามารถเลื้อยได้ยาวถึง 20 ม. โดยพันเลื้อยและหนามเกาะเกี่ยวต้นไม้อื่น

ระบบนิเวศและการกระจาย : กระจายพันทางจีนตอนใต้ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน บังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ถึงตอนเหนืออสเตรเลีย พบในป่าที่แห้งแล้ง ขึ้นใกล้ลำธาร แม่น้ำ จนถึงหุบเหวลึกที่ระดับความสูง 0-1500 เมตร

การเพาะปลูก : ส่วนที่จะเลื้อยยาวควรตัดแต่งกิ่งบ่อย ๆ และปมรากแบคทีเรียช่วยตรึงไนโตรเจนในอากาศได้ดี ผึ้งและแมลงช่วยผสมพันธุ์

การขยายพันธุ์ : เมล็ด ส่วนใหญ่ฝักจะสุกเต็มที่บนต้นและแห้งดี สามารถเก็บในภาชนะปิดสนิทไว้ได้นานถึง 5-10 ปี หรืออาจะมากกว่านั้นในสภาพสุญญากาศ หรือปักชำกิ่ง

ส่วนของพืชที่ใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อนและต้นอ่อนเป็นผัก

แหล่งเก็บหา : ทุกพื้นที่

ความเป็นพิษ : ในเทือกเขาหิมาลัยตะวันออกและอินเดียทางตะวันออกเฉียงเหนือมีการนำเปลือกไม้และเมล็ดมาใช้วางยาพิษปลา ช่วงฤดูแล้ง ไม้สกุล Acacia หลายชนิดจะสร้างพิษไฮโดรเจนไซยาไนต์ในใบระดับสูงมาก ทำให้เป็นอันตรายต่อสัตว์กินพืช

เมนูอาหารผักยืนต้น

จาก หนังสือผักยืนต้น กินผักอายุยืน โลกอายุยาว โดย กฤช เหลือลมัย หน้า 138 139

ข้อมูลทางโภชนาการ

สรรพคุณทางยา

ราก : รสร้อนเฝื่อน แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้ปวดเสียวในท้อง

การใช้ประโยชน์อื่นๆ

  • นิยมปลูกเป็นแนวรั้วหนาม ในอินเดียและเอเชียตะวันออกฉียงใต้
  • ในมุมไบ อินเดียใช้เปลือกซึ่งมีแทนนิน กว่า 90% ใช้ทำตาข่ายดักปลา
  • เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง เนื้อแข็งปานกลาง ขนาดเล็ก ไม้ตัดทำประดับเครื่องเงิน กรอบรูปหรือกล่องเล็ก ๆ