ชมพู่มะเหมี่ยว

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อสามัญ : Malay apple, Pomerac

ชื่ออื่น ๆ : –

วงศ์ : MYRTACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium malaccense (L.) Merr. & L. M. Perry

ชื่อพ้องวิทย์ : –

ลักษณะสำคัญ : ไม้โตเร็ว รูปทรงกรวย ทรงพุ่มกระจาย ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งใกล้พื้นดิน เป็นหนึ่งในดอกไม้ที่สวยที่สุด เกสรสีชมพูม่วงที่ร่วงหล่นจำนวนมากคลุมพื้นเป็นพรมสีสันสดใส ผล 5-8 ซม. สีแดงเข้ม สีม่วงอมเหลืองถึงสีเหลืองออกขาว รูปทรงไข่ เมล็ดเดียวขนาดใหญ่

ระบบนิเวศและการกระจาย : ถิ่นกำเนิดในไทย พม่า มาเลเซีย นิวกินี เกาะบิสมาร์ค และตอนเหนือออสเตรเลีย มักพบในป่าฝนระดับต่ำ ป่ารุ่นสองที่ชื้น ชายฝั่ง ในหมู่บ้าน ระดับความสูง 0-1000 เมตร

การเพาะปลูก : พืชเขตร้อนชื้นราบลุ่มต่ำ เติบโตได้ดีช่วงอุณหภูมิกลางวัน 22-28 oC แต่สามารถทนได้ 16-33 oC ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 1200-1600 มม. ทนได้ 1000-2200 มม. ทนแล้งได้แต่ชอบพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนตลอดปี ชอบดินอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำดี และแดดจัด ไม่ชอบดินเป็นกรดมาก pH 5.5-6.5 ทนได้ 5-8 เริ่มออกผล ตั้งแต่ปีที่4-5 สามารถออกดอกได้ปีละ 3 ครั้ง ดอกจะเริ่มบานหลังฝนและร่วงในช่วงแล้ง อาจติดผลต่อเนื่องกันในบางปี 60-80 กิโลกรัมต่อปี ผึ้งช่วยผสมเกสร

ขยายพันธุ์ : มีได้หลายวิธี เมล็ด ถ้าเป็นไปได้เพาะทันทีหลังผลสุก วางไว้ในที่ร่ม ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง ติดตา เสียบยอดต้นกล้าที่เป็นสกุลเดียวกัน

ส่วนของพืชที่ใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อน ดอก เกสรดอกไม้ นำมาทำข้าวยำ สลัดผัก และผลทานสด ทำขนมพาย ทาร์ต คัสตาร์ท

แหล่งเก็บหา : สวนยกร่อง สวนสมรม สวนผลไม้

เมนูอาหารผักยืนต้น

ข้อมูลทางโภชนาการ

สรรพคุณทางยา

การใช้ประโยชน์อื่นๆ

  • ปลูกเป็นไม้ประดับและผลไม้กินได้ ตลาดจำกัดในตลาดท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเชื่อว่าไม้ผลชนิดนี้มีโอกาสทางการค้า
  • เปลือกและรากให้สีย้อมสีน้ำตาลแดง สำหรับทำลายผ้าปาเต๊ะ
  • เนื้อไม้สีน้ำตาลแดงถึงน้ำตาลอ่อน ยากต่อการทำงาน ในฮาวายนำมาใช้ทำคานบ้าน ชามและกระดานโต้คลื่น