ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อสามัญ : Vegetable Hummingbird
ชื่ออื่น ๆ : แคบ้าน , แคบ้านดอกแดง (Central), แคแดง (Chiang Mai)
วงศ์ : FABACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesbania grandiflora (L.) Poir.
ชื่อพ้องวิทย์ : –
ลักษณะสำคัญ : ไม้โตเร็ว เป็นไม้เนื้ออ่อน ทรงพุ่มเปิด กิ่งแตกแขนงมาก ลำต้นตรง ใบประกอบ รูปรี ยาว 15-30 ซม. มี10-20 คู่ ดอกรูปคล้ายเคียว ยาว 1.5-10 ซม. มีสีขาว สีแดง สีชมพู ฝัก 30-45 ซม. เรียวยาวเหยียดตรง เมล็ด 8 มม. 30 เมล็ด สีเขียวบาง
ระบบนิเวศและการกระจาย : ถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงออสเตรเลียตอนเหนือ ที่ระดับความสูง ต่ำกว่า 1000 เมตร
การเพาะปลูก : มีการเพาะปลูกในหลายส่วนของอินเดียและศรีลังกา ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 22-30 oC ไม่ทนต่ออุณหภูมิต่ำกว่า 10 oC ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 2000-4000 มม. เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูฝน ทนแล้งได้ยาวนานถึง 9 เดือน ชอบแดดจัด ชอบดินที่อุดมสมบูรณ์ มีความชื้น แต่ก็เติบโตได้ในดินร่วนปนทราย ดินลูกรัง และดินที่อุดมสมบูรณ์ต่ำ pH 5.5-8.5 ทนกรดได้ถึง 4.5 ทนน้ำท่วมขังตามฤดูกาล อายุต้นประมาณ 20 ปี ต้นมีความสูงถึง 4-5 เมตรภายใน1 ปี และเมล็ดฝักสุกภายใน 9 เดือน เมื่อปลูกในดินที่ดี แต่จะสูง 1.8 เมตร เมื่อปลูกในดินทราย ระบบรากหยั่งรากตื้นและเติบโตเร็วเกินไปส่งผลให้ต้นอ่อนแอ เปราะ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะหักหรือถูกถอนได้ง่ายในลมแรง ในพื้นที่ลมแรงจึงต้องมีที่บังลม เก็บเกี่ยวผลผลิตใน 3 ปีแรกหลังปลูก ได้ประมาณ 41 ตันต่อเฮกตาร์ต่อปี
การขยายพันธุ์ : นกเป็นผู้ช่วยผสมพันธุ์ เมล็ดแข็ง ต้องทำให้อ่อนนุ่มลง โดยการเทน้ำเดือดเล็กน้อยในเมล็ด (ระวังไม่ให้เมล็ดสุก) แล้วแช่ไว้ในน้ำอุ่น 12-24 ชม. หรือคลุมด้วยผ้าเปียกอย่างน้อย 12 ชม. ก่อนนำไปเพาะ หรือปักชำกิ่ง
ส่วนของพืชที่ใช้ประโยชน์ : ดอก ฝักอ่อน เมล็ด ยอดอ่อน
แหล่งเก็บหา : ทุกพื้นที่
เมนูอาหารผักยืนต้น
ต้นแคบ้านมีทั้งแบบดอกขาวและดอกแดง เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้น ในประเทศไทยรู้จักกินแคบ้านกับทั่วไปทั้งยอดอ่อน ดอก ฝักอ่อน ปรุงอาหารได้หลากหลาย โดยมากนิยมนำมาต้มหรือนึ่งกินกับน้ำพริก และแกงส้ม ดอกแคช่วยป้องกันและรักษาอาการหวัดจนทำให้นิยมกินดอกแค่ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนฤดูเปลี่ยนช่วงปลายฝนต้นหนาว ก่อนนำดอกแคมาปรุงอาหารควรเด็ดเกสรออกเพราะมีรสขม ใบแคอ่อนมีบีต้า-แคโรทีนอยด์สูง
ข้อมูลทางโภชนาการ
1.ส่วนดอกแค คุณค่าทางโภชนาการของดอกแค 100 กรัม จะประกอบด้วย
พลังงาน 33 กิโลแคลอรี
เบตาแคโรทีน 0.51 ไมโครกรัม
วิตามินบี 1 0.09 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.19 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.5 มิลลิกรัม
วิตามินซี 35 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม
และธาตุฟอสฟอรัส 57 มิลลิกรัม
2.ส่วนยอดแค คุณค่าทางโภชนาการของยอดแค 100 กรัม ประกอบด้วย
พลังงาน 87 กิโลแคลอรี
เส้นใย 7.8 กรัม
เบตาแคโรทีน 8,654 ไมโครกรัม
วิตามินเอ 1,442 ไมโครกรัม
วิตามินบี 1 0.28 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.33 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 2 มิลลิกรัม
วิตามินซี 19 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 395 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม
และธาตุฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม
สรรพคุณทางยา
ใบ : รสจืดมัน แก้ไข้เปลี่ยนฤดู ไข้หวัด ถอนพิษไข้ ดับพิษ ถอนพิษ
ดอก : รสหวานเย็น แก้ไข้เปลี่ยนฤดู
เปลือกต้น : รสฝาด แก้บิดมูกเลือด คุมธาตุ สมานทั้งภายนอกและภายใน ชะล้างบาดแผล
การใช้ประโยชน์อื่นๆ
- เติบโตเร็ว ระบบรากแผ่กว้าง ช่วยตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศ จึงเหมาะสำหรับการฟื้นฟูสภาพเนินเขาที่ถูกกัดเซาะ
- ใบ ดอก ฝัก ทำปุ๋ยพืชสดหรือคลุมดิน ปรับปรุงดิน
- ปลูกเพื่อให้ร่มเงาในเรือนเพาะชำ ชา กาแฟ โกโก้ และเป็นเครื่องป้องกันลมสำหรับ ส้ม กล้วย กาแฟ รวมถึงเป็นเสาหลักต้นพริกไทยและวานิลลา
- น้ำมันที่ได้จากเมล็ดนั้นอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเลอิค ไลโนเลอิก และสเตียริค
- เนื้อไม้สีขาว เบา ไม้เนื้ออ่อน อาจผุพังเร็วเนื่องจากการเน่าและแมลงกัดเจาะ ใช้ในอวนจับปลา เป็นแหล่งผลิตเยื่อกระดาษที่สำคัญสำหรับทำกระดาษ เส้นใยสั้น นำมาผสมกับเยื่อไผ่ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
- ไม้ไม่เหมาะสำหรับเป็นเชื้อเพลิง ค่าความร้อน 17.91 MJ/kg มีปริมาณเถ้าสูง 6% และคาร์บอนต่ำ 11.7%