ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อสามัญ : Jack fruit tree
ชื่ออื่น ๆ : ขนุนละมุด (General), ขะนู (Chong-Chanthaburi), ขะเนอ (Khmer), ซีคึย (Karen-Mae Hong Son), นะยวยซะ (Karen-Kanchanaburi), นากอ (Malay-Pattani), เนน (Chaobon-Nakhon Ratchasima), ปะหน่อย (Karen-Mae Hong Son), มะหนุน (Northern), ลาง (Shan-Northern), หมักหมี้ (Northeastern), หมากลาง (Shan-Mae Hong Son)
วงศ์ : MORACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lam.
ชื่อพ้องวิทย์ : –
ลักษณะสำคัญ : ขนุนเป็นไม้โตเร็ว ทรงพุ่มกระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบ มียางขาวทั้งต้น ใบ 7-15ซม. รูปกลมหรือรี ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกตัวเมียและตัวผู้อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้จะออกที่ปลายถึงง่ามใบ เป็นแท่งยาว 2.5 ซม. ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมยาวออกจาลำต้นถึงก้านขนาดใหญ่ ผล กลมและยาว ผลรวม เม็ดกลมรี เนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลือง สุกกลิ่นหอม
ระบบนิเวศและการกระจาย : ถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออก และกระจายพันธุ์ปลูกโดยส่วนมากทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บราซิล ขึ้นในป่าดิบชื้นเขตร้อนชื้น ที่ระดับความสูง 450-1200 เมตร
การเพาะปลูก : อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 24-28 oC ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 900-4000 มม. กระจายอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี สามารถทนแล้งได้ระยะสั้น ชอบดินลึก ระบายน้ำดี pH 5.5-7.5 ทนได้ 4.3-8 ต้นกล้าต้องการร่มเงา โตเต็มที่ชอบแดดจัด มีรากแก้วลึก ให้ผลผลิตได้ใน 3 ปีแรกหลังจากเพาะเมล็ด แต่โดยทั่วไปคือ 8 ปี เมื่อต้นโตเต็มที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 250 ลูกต่อต้น ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต้นไม้จะออกดอกและผลตลอดทั้งปี แต่ในพื้นที่ที่มีฤดูแล้งและฤดูฝนที่แตกต่างกัน ดอกจะออกในฤดูฝน
การขยายพันธุ์ : เมล็ด
ส่วนของพืชที่ใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อน ผลอ่อน เกสรดอกตัวผู้นำมาเป็นผักแนม ผล ทานสด หรือแปรรูปเป็นขนม เมล็ดนำไปต้มทานเป็นอาหารว่างได้
แหล่งเก็บหา : ทุกพื้นที่
เมนูอาหารผักยืนต้น
ขนุน เป็นทั้งผลไม้และผักที่กินกันแพร่หลายในทุกกลุ่มชน กินได้ทั้งยอดอ่อน ผลและเมล็ด ลูกนขนุนกินเป็นผักได้ตั้งแต่เป็นลูกอ่อนไปจนเริ่มห่ามทั้งต้มสุกและดิบ รสฝาดมัน ในภาคอีสานนิยมนำลูกอ่อนตัวผู้ที่เรียกว่า “หำบักมี่” มาจิ้มปลาแดกบอง คนเหนือนำลูกอ่อนมาฝานล้างยางกินกับน้ำพริกอ่อง และด้วยชื่อที่เป็นมงคลยังนิยมกิน “แก๋งบะหนุน” ในวันปากปี(16 เมษายน) หลังวันปีใหม่เมือง เพื่อเป็นศิริมงคล
ข้อมูลทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อขนุนดิบ ต่อ 100 กรัม
พลังงาน 95 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 23.25 กรัม
น้ำตาล 19.08 กรัม
เส้นใย 1.5 กรัม
ไขมัน 0.64 กรัม
โปรตีน 1.72 กรัม
วิตามินเอ 5 ไมโครกรัม 1%
เบตาแคโรทีน 61 ไมโครกรัม 1%
ลูทีนและซีแซนทีน 157 ไมโครกรัม
วิตามินบี 1 0.105 มิลลิกรัม 9%
วิตามินบี 2 0.055 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี 3 0.92 มิลลิกรัม 6%
วิตามินบี 5 0.235 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี 6 0.329 มิลลิกรัม 25%
วิตามินบี 9 24 ไมโครกรัม 6%
วิตามินซี 14.7 มิลลิกรัม 17%
วิตามินอี 0.34 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม 2%
ธาตุเหล็ก 0.23 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม 8%
ธาตุแมงกานีส 0.043 มิลลิกรัม 2%
ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม 3%
ธาตุโพแทสเซียม 448 มิลลิกรัม 10%
ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม 1%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
สรรพคุณทางยา
ใบ : รสฝาด ใช้บดโรยแผลมีหนองเรื้อรัง
แก่น(กรัก) ราก : รสหวานชุ่มขม (สุขุม) บำรุงโลหิต แก้กามโรค ขับพยาธิ ระงับประสาท แก้โรคลมชัก ต้มดื่ม แก้ท้องเสีย ทาแก้โรคผิวหนัง
ยาง : รสฝาด แก้อักเสบบวม แผลมีหนองเรื้อรัง แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
เนื้อหุ้มเมล็ดสุก : รสหวานหอม บำรุงกำลัง ชูหัวใจให้สดชื่น เป็นยาระบายอ่อน ๆ หรือหมักทำเหล้า
เนื้อในเมล็ด : รสมัน บำรุงน้ำนม ขับน้ำนม บำรุงกำลัง ต้องต้มหรือเผาให้สุกก่อนรับประทาน เป็นอาหารที่มีแป้งมาก
การใช้ประโยชน์อื่นๆ
- ขนุนมีระบบรากลึกและแผ่กว้างสามารถปลูกเพื่อควบคุมอุทกภัยและการพังทลายของดิน เหมาะใช้ในโครงการปลูกป่าทดแทน
- ปลูกเป็นพืชร่วมในสวนมะพร้าว ทุเรียน มะม่วง ส้ม และสามารถใช้เป็นร่มเงาให้กับกาแฟได้
- น้ำยางที่ได้จากลำต้นและกิ่งก้านให้ผลผลิต 71.8% ของเรซิน ซึ่งประกอบด้วย ฟลูออวิลล์(สีเหลือง) 63.3% และอัลบานีน (สีขาว) 8.5 % เรซินเหล่านี้อาจมีค่าในการเคลือบเงา
- น้ำยางใช้เป็นกาวสำหรับซ่อมเครื่องสังคโลกหรือภาชนะดินเผา ชันเรือ ที่ดันก ในอินเดียและบราซิล น้ำยางทำหน้าที่ทดแทนยางพารา
- เปลือกไม้ มีแทนนิน 3.3 % เมื่อต้มด้วยสารส้มขี้เลื่อยหรือแก่นจะผลิตสีย้อมสีเหลือง ซึ่งนิยมใช้ย้อมจีวรของพระสงฆ์
- เนื้อไม้จากสีเหลืองกลายเป็นสีแดง จัดเป็นไม้เนื้อแข็งปานกลาง ทนต่อปลวก เชื้อรา และแบคทีเรีย มันขัดอย่างสวยงาม ถึงแม้จะไม่แข็งแรงเท่าไม้สัก แต่ก็ถือว่าเหนือกว่าไม้สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์ งานก่อสร้าง งานกลึง เสาบ้าน เสากระโดง ไม้พาย เครื่องดนตรี นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเดียและศรีลังกา และส่งออกไปยังยุโรป
- รากของต้นไม้เก่ามีราคาสูงสำหรับงานแกะสลัก
- ไม้ใช้เป็นเชื้อเพลิง