ปลูกผักยืนต้น ดักฝุ่นPM2.5

ลมหนาวพัดมาทำให้คนกรุงฯ สดชื่น แต่มองฟ้ากลับไม่ค่อยสดใส เพราะอากาศแห้งๆ ก็เชื้อเชิญเจ้า ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 มาด้วย แทนที่จะได้สูดอากาศเย็นๆ ให้ชื่นปอดก็คงต้องหาหน้ากากมาใส่เป็นพรอบฤดูหนาวแทน

การแก้ปัญหา PM2.5 เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องร่วมแก้เป็นภาพรวม ที่ต้องแก้ไขหลายอย่าง แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถทำอะไรได้เลย

การปลูกต้นไม้ช่วยได้ค่ะ ชวนมาปลูกต้นไม้กัน ในงานศึกษาว่าด้วย มาตรการระยะยาวเพื่อควบคุมคุณภาพอากาศให้เหมาะสมโดยใช้พืชพรรณที่มีศักยภาพในการดักจับฝุ่นละอองในอากาศ ลงทุนน้อยแต่ได้ผลระยะยาว โดย ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล และ รศ.ดร.สุระ พัฒนะเกียรติ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อธิบายกลไกลการดักฝุ่นของใบไม้แบบต่างๆ และจัดจำแนกชนิดของต้นไม้ที่ดักฝุ่นได้มีประสิทธิภาพ ลักษณะสำคัญที่ช่วยให้ต้นไม้แต่ละชนิดดักจับฝุ่นได้ดี เช่น ทรงพุ่มมีใบหนาแน่น ต้นไม้ที่มีใบเป็นขน เป็นต้น

กินเปลี่ยนโลก จะขอแนะนำ “ผักยืนต้น” หรือไม้ยืนต้นที่สามารถนำส่วนต่างๆ มากินได้ ปรุงอาหารได้ และมีคุณสมบัติในการดักฝุ่นยอดเยี่ยม สำหรับท่านที่กำลังคิดจะปลูกต้นไม้ที่บ้านสักต้นเพื่อได้ร่มเงา โดยจะอิงจากประสิทธิภาพในการดักฝุ่นที่งานศึกษาชิ้นนี้ระบุไว้


1. แคแสด ประสิทธิภาพในการดักฝุ่น PM2.5 ++++
แคแดง ยามแดง
วงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Spathodea campanulata P.Beauv.

แคแสดรู้จักกันดีในฐานนะไม้ประดับยืนต้นสูงใหญ่ราว 20-30 เมตร ทนแล้งได้ดี ใบเขียวสดประกอบกันเป็นทรงพุ่มแน่นสวย ออกดอกสีส้มจัดที่ปลายกิ่ง ดอกค่อนข้างใหญ่ บานทนอยู่ได้นาน ไม่โรยง่าย

ดอกแคแสดที่เพิ่งร่วงมีลักษณะเป็นกระเปาะ เนื้อดอกหนาชวนให้คิดถึงดอกเพกาแต่มีผิวมันและค่อนข้างแข็งกว่า ยัดไส้หมูสับปรุงรสแล้วเอามาต้มจืด นึ่งจิ้มน้ำจิ้มหรือผัดในพริกแกงผัดกะทิข้นๆ ให้เป็นแบบแกงฉู่ฉี่ก็ได้

หากพิจารณาความแน่นของเนื้อดอก อาจใส่ในแกง อย่างแกงส้ม แกงแค ก็ย่อมได้


2. สกุลชงโค ประสิทธิภาพในการดักฝุ่น PM2.5 +++
วงศ์ CEASALPINIACEAE

ไม้ตระกูลเสี้ยวพบได้มากตามป่าโปร่งและริมทางหลวงชนบทในทุกภาคของประเทศ มีหลายขนาดแตกต่างกันทั้งต้น ใบ ทรงพุ่ม และสีดอก ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับส่วนใหญ่คือ “ชงโค” เสี้ยวต้นใหญ่ ใบใหญ่ ออกดอกสีชมพูเข้มบานเต็มต้นในช่วงหน้าหนาว และยังมี “กาหลง” เสี้ยวต้นเล็ก ทรงพุ่มแน่น ให้ดอกสีขาวสะอาดขนาดเล็กตัดกับใบสีเขียวสด

ยอดและใบอ่อนเสี้ยวแตกงามในหน้าฝน มีรสเปรี้ยว มัน กลีบดอกรสอ่อนลงมาเล็กน้อย ใช้ใส่แกงน้ำใสสำรับโบราณภาคกลาง หากคำนึงถงปริมาต้นเสี้ยวซึงมีมากมายมหาศาลามข้างทาง สำรับนี้น่าจะแพร่หลายได้ง่าย เพราะแทบไม่มีปัญหาเรื่องวัตถุดิบเอาเลย

ในกาดทางภาคเหนือมักเห็นยอดเสี้ยวน้อยรวมอยู่ในกองผักแกงแคเสมอ ความเปรี้ยวของมันแต่งรสอาหารได้โดยไม่ทำให้รสโดยรวมเสียไปเหมือนส้มรสจัดอื่นๆ


3. ขี้เหล็กบ้าน ประสิทธิภาพในการดักฝุ่น PM2.5 ++
ขี้เหล็กแก่น  ผักจี้ลี้  ยะหา  ขี้เหล็กใหญ่  ขี้เหล็กหลวง
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna siamea (Lam.) Irwin & Barneby

ขี้เหล็กพบได้ง่ายตามป่าโปร่งทั่วไป จะเห็นออกดอกสีเหลืองเป็นช่อเด่นอยู่ตามริมทางหลวงชนบททั่วปรเทศ ต้นสงราว ๑๐ – ๑๕ ตร แตกใอ่อนมากในช่วต้นฤดูฝน นิยมกินทั้งยอด ใบอ่อน ใบเพสลาด และดอกอ่อน โดยต้มทิ้งน้ำสักหนึ่งครั้งเพื่อลดความขมเฝื่อน แล้วแกงใส่กะทิ รากกระชาย น้ำปลาร้าแบบภาคกลาง หรือต้มใบอ่อนแกงเปอะกับน้ำคั้นใบย่านางแบบอีสานก็อร่อยมาก บางแห่งต้มจนเละแล้วยำให้รสออกเค็มปนขมอ่อนๆ ก็มี

น้ำต้มใบขี้เหล็กน้ำที่สองหรือสามเป็นยาช่วยให้นอนหลับได้ดี

หากไม่ต้องการปรุงขี้เหล็กเป็นสำรับกับข้าว ก็อาจต้มหรือนึ่ง กินเป็นผักจิ้มน้ำพริกเผ็ดๆ ได้อร่อยไม่แพ้ผักรสขมอื่นๆ อย่างมะระจีนหรือผักไห่

เท่าที่สังเกต พื้นที่ทางเหนือขึ้นไปจากดินแดนประเทศไทย เช่นแถบเชียงตุง เชียงรุ่ง สิบสองพันนา จะไม่กินขี้เหล็ก แต่ใช้ไม้ขี้เหล็กทำฟืน โดยลิดกิ่งแก่ทีละน้อยๆ


4. ตะลิงปลิง ประสิทธิภาพในการดักฝุ่น PM2.5 ++
มูงมัง  กะลิงปริง  ลิงปลิง  ปลีมิ
วงศ์ OXALIDACEAE
ชื่อวิทยาาสตร์ Averrhoa bilimbi

คนที่เคยกินหรือชอบกินมะเฟืองจะรู้สึกว่าตะลิงปลิงดิบคล้ายคลึงมะเฟืองดิบทั้งเนื้อ ความฉ่ำน้ำ และรสชาติ ดังนั้นจึงใช้แทนกันได้ทั้งในยำ แกงส้ม โรยหน้าผัดไทย ทำน้ำผลไม้ หรือที่นิยมกันในหลายแห่งก็คือตำน้ำพริกโดยใช้เนื้อลูกดิบแทนความเปรี้ยวจากส้มอื่นๆ

ลูกดิบนอกจากจะใส่ในแกงกะทิมันๆ ได้ดี ยังใส่ต้มยำน้ำใสๆ เช่น ต้มไก่ ต้มปลาได้ความเปรี้ยวที่ไม่จัดนัก แต่มีรสหวานนุ่มนวลปน ต่างจากส้มอื่นๆ

นอกจากปรุงอาหารคาว บางแห่งนิยมแช่อิ่มลูกดิบกินเป็นของหวานด้วย ส่วนดอกตะลิงปลิงตากแห้งชงเป็นชา ดื่มร้อนๆ ช่วยบรรเทาอาการไอ


5. พฤกษ์ ประสิทธิภาพในการดักฝุ่น PM2.5 ++
ซึก  กะซึก  ชุงรุ้ง  มะขามโคก  มะรุมป่า  ก้านฮุ้ง  ถ่อนนา
วงศ์ FABACEAE (LE GUMINOSAE – MIMOSOIDEAE)
ชื่อวิยาศาสตร์ Albizia lebbek (L.) Benth

พฤกษ์รือซึกเป็นไม้ยืนต้นสูงใหญ่ ต้นที่อายุมากๆ อาจสูงได้กว่า ๒๕ เมตร กิ่งก้านแผ่ขยายให้ร่มเงากว้างขวาง ยอดและใบอ่อนซึกมีรสหวานมัน ลวกหรือต้มให้รสชาติดีมาก โดยเฉพาะหากผัดไฟแดงหรือแกงเลียงใส่ปลาย่างหรือกุ้งแห้ง

อาจนับเป็นผักยืนต้นที่มียอดและใบอ่อนที่รสชาติดีมากอีกชนิดหนึ่ง ในระดับเดียวกันกับผักอีหล่ำ หรือมะกล่ำตาช้างทีเดียว

ดอกอ่อนลักษณะเหมือนดอกจามจุรี แต่สีออกเหลืองอ่อน แทนที่จะเป็นสีชมพูเหลือบ กินได้เหมือนใบอ่อน มีรสมันเช่นกัน

หรือท่านที่สนใจอยากจะดูรายละเอียดว่ามีพืชชนิดใดอีกบ้างที่น่าสนใจ งานศึกษาได้จำแนกไว้มีทั้งไม้เลื้อย ไม้พุ่ม ไม้ดอก-ประดับ สามารถเข้าไปดูได้ คลิกที่นี่ 

สนใจผักยืนต้น เรามีหนังสือ “ผักยืนต้น กินผักอายุยืนโลกอายุยาว”

นอกจากจะเป็นอีกวิธีที่สามารถลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศได้แล้ว การปลูกต้นไม้ยังช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการโลกร้อน และดูดซับสารพิษในอากาศ ช่วยให้อากาศที่เราหายใจเข้าไปมีคุณภาพมากขึ้นด้วย