การออกแบบระบบฟาร์ม บ้าน สวน และชุมชนยั่งยืน

โดย ศักดิ์ชัย ชาตาดี เครือข่ายวนเกษตร จ.ฉะเชิงเทรา

งานโรงเรียนอธิปไตยทางอาหารหลักสูตรที่ 1 ปี 2562-63

เรียบเรียงโดย ปิยาพร อรุณพงษ์

1) แนวคิดหลัก

“คือ เกษตรพึ่งตนเอง หรือเป็นการทำสวนเพื่อตอบโจทย์ชีวิตตัวเราเอง เป้าหมายปลายทาง คือ การสร้างป่า”

2) ชุดประสบการณ์และการปฏิบัติที่ถอดบทเรียนจากการลงมือปฏิบัติ ถูกสื่อสารและนำมาเล่าสู่กันฟัง

ฐานชีวิตวัยเด็ก เป็นลูกชาวนา  เรียนรู้จากผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม คือ การทำสวนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้บนฐานของความหลากหลายและความรู้ มีการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน

3) ฐานประสบการณ์

บนความมุ่งหวังที่ต้องการพึ่งตนเองบนศักยภาพที่สามารถทำได้ พบว่ามี 2 เรื่องที่เป็นหลักคิดใหญ่ในการออกแบบและทำสวน คือ

  1. ฐานชีวิต
  2. ฐานเศรษฐกิจ

ภายใต้ 2 แนวหลักคิด ยังมีหลักการสำคัญ 3 ส่วน คือ

  1. ตัวเอง และจิตใจที่ใฝ่รู้
  2. องค์ความรู้
  3. ศักยภาพ เครื่องมือ

ทั้งนี้ ภายใต้กระบวนการที่สำคัญ คือ กระบวนการเรียนรู้ การเริ่มต้นจากการเรียนรู้บริบทและศักยภาพเชิงพื้นที่ แต่ก็พบว่าแม้ในพื้นที่ก็มีข้อจำกัด ปัจจุบันจึงต้องมีความรู้และเทคโนโลยีที่สามารถช่วยจัดการและแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ได้

การวางแผน โดยการ “ทดลองทำ” พบว่ามีหลายอย่างที่ลองทำไปแล้วเกิดความผิดพลาด จึงต้องแสวงหาความรู้ใหม่ ปรับเปลี่ยน และในขณะเดียวกัน ก็จำเป็นต้องออกแบบชีวิตด้วย ซึ่งฐานชีวิตสำคัญ คือ ความมั่นคงทางอาหาร จึงเริ่มปลูกผักพื้นบ้านกว่า 100 ชนิด ตั้งแต่พืชหัว พืชคลุมดิน เพื่อเป็น “หลักประกันความมั่นคงในชีวิต”

บทเรียนสำคัญในการปลูกผักพื้นบ้าน ผักยืนต้น เป็นพืชที่ปลูกครั้งเดียวได้กินตลอดปี แต่ “การปลูกผัก” ต้องควบคู่กับ “การจัดการ” “การปลูกผักที่หลากหลาย” ก็จะมี “ปลายทางเพื่อสุขภาพ” ด้วย

พืชที่เรากินประจำและใช้ประโยชน์เป็นประจำ จะเลือกปลูกไว้ในรัศมีใกล้บ้าน และมีการจัดการตกแต่งต่อเนื่อง ส่วนพืชที่ไม่กินบ่อยก็จะปลูกห่างออกไป แต่หลักการสำคัญ คือการสร้างความหลากหลาย และสร้างระบบนิเวศในแปลงปลูกได้ด้วย

คำว่า “การจัดการ” ก็คือ การทำให้เกิดการใช้ประโยชน์นั้นเอง ไม่ว่าจะเป็น การตัดแต่งขนาดให้เหมาะสม การรู้จักกิน ตลอดจนการนำไปทำกินให้อร่อย

4) การจัดการทางเศรษฐกิจ

แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. ไม้เศรษฐกิจ หลักประกันระยะยาว ไม้ต้นใหญ่ หรือพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ชันตะเคียน ใช้เข้ายา น้ำมันชันตะเคียน มะเร็ง เบาหวาน จะเป็นแผล หนอง แผลกดทับ น้ำมันชันตะเคียนรักษาได้ ไม้พยุง ขายเนื้อไม้ ไม้สัก ไม้มะค่า ประดู ไม้แดง ไม้ชิงชัง กล้าไม้ ทำรายได้สูงในเวลานี้เพราะมีกระแสโลกร้อน และการกฎหมายได้อนุญาตให้ตัดได้และขายได้ นอกจากไม้ใหญ่ให้มูลค่าทางเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นพืชที่จัดปรับนิเวศทางการเกษตรและเป็นพืชพี่เลี้ยงให้กับพืชระดับล่างอื่นๆ ด้วย

ในสวนที่ทำวนเกษตรที่ทำอยู่นี้ พบว่ามีพืชไม่ต่ำกว่า 600 ชนิด แสดงให้เห็นถึงความหลากหลาย และการเลือกการจัดการให้เหมาะสมกับพื้นที่ ควรจะเลือกให้เหมาะกับความรู้ของเรา และสิ่งที่ต้องใส่ไปในการออกแบบปลูก คือ ใส่ใจ และใส่ความรัก

  1. ไม้ที่เป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหาร ได้แก่ มัน พืชหัว พืชสมุนไพร ซึ่งเป็นไม้ชั้นล่างท้าวยายม่อม นำมาทำแป้ง

เกี่ยวเนื่องกับฐานชีวิต เพราะการมีอาหารจะทำให้ชีวิตสบายขึ้น และสามารถพึ่งตนเองได้เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่กับแปลงเกษตร การปลูกผักอย่างธรรมชาติ ก็จะได้กินตามฤดูกาลของพืชนั้น แต่พืชบางชนิด เช่น ชะมวง จะต้องมีการตัดแต่งกิ่งจึงจะแตกยอดดี ดังนั้นการปลูกผักจึงควบคู่กับการจัดการ

การปลูกต้นไม้นั้นต้องมองให้เป็นระบบนิเวศที่เกื้อกูลกันของพืชหลายชนิด เช่น การปลูกพืชหลายชั้น ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตดี และใช้พื้นที่ได้คุ้มค่า

5) หลักการออกแบบแปลง

  1. สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้
  2. ปลูกให้มีความหลากหลาย
  3. การดูแลตัดแต่ง สำหรับพืชบางชนิด
  4. การมีองค์ความรู้ต่อพืชที่ปลูกจะทำให้ต่อยอด และต่อคุณค่า ประยุกต์ได้ต่อไป

ปลูกต้นไม้เพื่อตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหาร  ยารักษาโรค และเศรษฐกิจ ต้องออกแบบให้เหมาะสบกับแต่ละคน แต่ละพื้นที่ ไม่เหมือนกัน

กรณีการปลูกผักสำหรับคนเมืองนั้น ไม่จำเป็นต้องปลูกมากเพราะเก็บกินไม่หมด แต่ปลูกอย่างละนิดละหน่อยในกระถาง เน้นปลูกให้หลากหลาย

แนวคิดเรื่อง permaculture เป็นแนวคิดหนึ่งที่นำมาใช้ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน  ซึ่งหลักการก็คือเกษตรธรรมชาติ  หากสามารถทำการเกษตรแล้วต้นทุนน้อยก็จะสามารถทำเกษตรในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้และอาจจะทำได้ดีกว่าระบบอุตสาหกรรมเพราะไม่มีต้นทุน แต่ใช้ระบบต่างๆ ของธรรมชาติคอยดูแล ใช้พลังภายนอกน้อยที่สุด แต่เน้นพลังงานภายใน (แสงแดด ลม น้ำ ฯลฯ)  ดังนั้นเกษตรจะมีขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ กิจกรรมหลักที่ทำ และพัฒนา ดูแล ให้ธรรมชาติดูแลกันเอง