ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อสามัญ : –
ชื่ออื่น ๆ : หมุยช้าง, หมุรุย (ใต้), หัสคุณ (สระบุรี), ชะมัด,สมัดใหญ่ (อีสาน), หมอน้อย (อุตรดิตถ์), กาจับหลัก, มะห้อ, จี้ปุกตัวผู้, สาบฮิ้น (เหนือ)
วงศ์ : RUTACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Micromelum minutum (G.Forst.) Wight & Arn.
ชื่อพ้องวิทย์ : –
ลักษณะสำคัญ : เรือนยอดแผ่กระจาย ใบ 20-50 ซม. เรียงแบบสลับ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยเรียงแบบสลับ ใบย่อย 3-6(8) คู่ รูปมนรีแคบหรือรูปหอก ปลายแหลมสีเขียวอ่อน ฐานไม่สมมาตร ขอบใบเรียบหรือซี่หยักตื้นๆน้อย ใบย่อยใหญ่สุด 7-18 x 3-5 ซม. ใบแก่ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่ม ก้านใบย่อย 0.2-1 ซม. ก้านใบร่วม 2.5-7 ซม. ดอก 0.7 ซม. สีขาวอมเขียว กลิ่นหอม ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ยาว 10-25 ซม. กลีบดอก 0.5 ซม. 5 กลีบโค้งกลับ ผล 0.5-1 ซม.กลม สีเขียวอ่อน มีขนปกคลุมเมื่อสุกสีส้มหรือสีน้ำเงินเข้ม ก้านผลสั้น เรียบเป็นมัน มี 3 เมล็ด
ระบบนิเวศและการกระจาย : กระจายพันทางศรีลังกา หมู่เกาะนิโคบาร์และอันดามัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงออสเตรเลียและหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบกระจายในป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง อยู่ใต้เรือนยอดไม้ใหญ่ หรือกึ่งโล่งแจ้ง
การเพาะปลูก : สร้างระบบนิเวศเลียนแบบระบบนิเวศป่า พืชสามารถปลูกเพื่อการค้าได้โดยการตัดแต่งทรงพุ่มให้เตี้ยสามารถเก็บได้ง่าย แมลงช่วยผสมพันธุ์
การขยายพันธุ์ : เมล็ด เพาะสด งอกภายใน 12-47 วัน
ส่วนของพืชที่ใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อนมีกลิ่นหอมคล้ายการบูร รสหอมร้อน ผลรสเปรี้ยวมัน
แหล่งเก็บหา : สวนสมรม ชายป่าดิบชื้น
หมายเหตุ : คล้ายกับ M.falcatum ไม้ต้นสูงถึง 11 ม.ใบย่อย 4-6 คู่ รูปไข่แคบ ฐานกลม ขอบใบเรียบหรือมีซี่จักเล็กๆ ใบไม่มีขน ช่อดอกยาว 3-4 ซม. และ M.hirsutum ไม้พุ่มสูงถึง 3 ม. ใบย่อย 5-12 คู่ ด้านล่างมักมีขนหนาแน่น ช่อดอก 2-6 ซม. ทุกส่วนของพืชมีขนสีน้ำตาล ผลไม่มีก้าน
เมนูอาหารผักยืนต้น
ข้อมูลทางโภชนาการ
สรรพคุณทางยา
การใช้ประโยชน์อื่นๆ
- เนื้อไม้เบา ทนทาน มักใช้ในงานก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ แต่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เล็กน้อย