ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อสามัญ : Ming Aralia, Parsley Panax
ชื่ออื่น ๆ : ครุฑทอดมัน khrut thot man (Bangkok) ครุฑเท้าเต่า khrut thao tao (Bangkok) ครุฑใบเทศ khrut bai thet (Bangkok) ครุฑผักชี khrut phak chi (Bangkok) เล็บครุฑ lep khrut (Bangkok)
วงศ์ : ARALIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyscias fruticosa (L.) Harms
ชื่อพ้องวิทย์ : –
ลักษณะสำคัญ : ไม้โตช้า ทรงพุ่มแผ่กระจาย ลำต้นสีเขียว แต้มด้วยกระสีน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยขอบหยักเว้าลึก แบบฟันเลื่อยชัก ปลายเรียวแหลม ดอกเล็ก เป็นช่อติดกันเป็นกระจุก ใบขยี้ดมดูจะมีกลิ่นน้ำมันหอมระเหย
ระบบนิเวศและการกระจาย : อาจมีการเพาะปลูกในเขตร้อนมานานแล้ว ตั้งแต่อินเดียถึงโพลีนีเซีย นิยมปลูกเป็นยาในเวียดนาม ไม่พบในป่าธรรมชาติ ในไทยนิยมปลูกเป็นไม้ประดับหน้าบ้าน
การเพาะปลูก : ชอบอยู่ร่มรำไร ดินระบายน้ำดีและเป็นกรดเล็กน้อย
ขยายพันธุ์ : เมล็ด ปักชำ เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน จากปลายยอดราว 10 ซม. ชำในถุงคลุมพลาสติก เอาไว้ในร่ม ที่อุณหภูมิ 21-23 oC รากอาจจะงอกช้าถ้าน้ำขัง ชำรากเลือกรากขนาด 25 มม. ดันขึ้นมาให้อยู่เหนือพื้นดิน จะทำให้เกิดต้นใหม่ ตอนกิ่ง
ส่วนของพืชที่ใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อน และใบเพสลาด รวมถึงราก
แหล่งเก็บหา : สวนหน้าบ้าน
หมายเหตุ : เล็บครุฑที่เป็นไม้ประดับมีหลายชนิด เช่น ครุฑอีแปะ P. balfouriana Bailey. ครุฑนก ครุฑหงอนไก่ ครุฑใบมะตูม P. filicifolia Bailey. ครุฑใหญ่ ครุฑใบใหญ่ P. guilfoylei Bailey. ครุฑทองคำ P. pinnata Forst.
เมนูอาหารผักยืนต้น
ในภาคเหนือนิยมกินใบสดเป็นผักกับลาบ หรือ นำมาแกงแค แกงอ่อม แกงโฮะ ส่วนในสำรับทางภาคใต้นิยมนำมาชุบแป้งชุบไข่ทอดกับกุ้ง ชาวภูเก็ตเรียกเบือทอดใบเล็บครุฑ เป็นเหมือดน้ำพริก เหมือดขนมจีน
ข้อมูลทางโภชนาการ
สรรพคุณทางยา
ใบ : รสหอมร้อน ตำพอกแก้ปวดบวมอักเสบ
ทั้งต้น : รสฝาดหอม สมานแผล แก้ไข้
ราก : รสหอมร้อน ต้มดื่มขับปัสสาวะ ระงับประสารท แก้ปวดข้อ สูดดมขับเหงื่อ
การใช้ประโยชน์อื่นๆ
- ในกัมพูชาใช้ก้านทำธูปไหว้พระ