ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อสามัญ : Common lime
ชื่ออื่น ๆ : โกรยชะม้า (Khmer-Surin) ปะนอเกล มะนอเกละ มะเน้าด์เล (Karen-Mae Hong Son) ปะโหน่งกลยาน (Karen-Kanchanaburi) ลีมานีปีห์ (Malay-Peninsular) ส้มมะนาว (General) หมากฟ้า (Shan-Mae Hong Son)
วงศ์ : RUTACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia (Christm.) Swingle
ชื่อพ้องวิทย์ : –
ลักษณะสำคัญ : ทรงพุ่มหนาแน่น กิ่งแตกไม่สม่ำเสมอ กิ่งก้านมีหนามสั้น สันแข็งและแหลม ใบเดี่ยวรูปไข่ปลายโค้งแหลมเล็กน้อย โคนมน ขอบจักโค้งเล็กๆ มีต่อมน้ำมันเล็กๆทั่วใบ ก้านใบมีครีบ ออกเรียงสลับกัน ดอกเล็กสีขาว เกสรสีเหลือง เป็นช่อ ผลกลมผิวสีเขียวมัน มีต่อมน้ำมัน
ระบบนิเวศและการกระจาย : อาจจะมีถิ่นกำเนิดทางตอนเหนือของอินเดียและเมียนมา พืชปลูกในเชตร้อนและกึ่งร้อน โดยเฉพาะหมู่เกาะอินเดียตะวันตก เม็กซิโก ฟลอริดา อียิปต์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทุกภาค ไม่พบในป่าธรรมชาติ มักปลูกในสวนหลังบ้านจนถึงเชิงการค้า ไทยมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลาย สามารถปลูกได้ที่ความสูงถึง 2200 เมตร
การเพาะปลูก : อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 25-30 oC ทนได้ 13-38 oC ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 700-1000 มม. หากมีช่วงแล้งนานกว่า 3 เดือนจำเป็นต้องวางระบบน้ำ ชอบดินร่วน ลึก ระบายน้ำดีแต่ยังคงรักษาความชื้นเมื่อถูกแดดจัด ทนแล้งได้ pH 6-6.5 ทนได้ 4.8-8.3 สามารถออกดอกและผลตลอดทั้งปี ให้ผลผลิตได้ตั้งแต่ปีที่ 2 หลังจากปลูก ปัจจัยที่จำกัดการเจริญเติบโตคือโรคแครงเกอร์ มะนาวสามารถผสมข้ามสายพันธุ์ได้อย่างอิสระ และเกิดลูกผสมหลายชนิด เช่น Lemonimes (lime x lemon), Limequats (lime x kumquat)
การขยายพันธุ์ : นิยมเพาะเมล็ดนำไปทำเป็นต้นตอสำหรับเสียบยอดกิ่งพันธุ์ที่ดี ปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง
ส่วนของพืชที่ใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อน ผล ผิวเปลือกผล
แหล่งเก็บหา : ทุกพื้นที่
เมนูอาหารผักยืนต้น
ข้อมูลทางโภชนาการ
สรรพคุณทางยา
ใบ : รสปร่า 108 ใบ ต้มดื่ม กัดฟอกเสมหะ ฟอกโลหิตระดู
น้ำในลูก : รสเปรี้ยว ผสมเกลือและน้ำตาลทรายแดง จิบแก้เสมหะ แก้ไอ กินแก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต กัดเถาดานในท้อง ล้างเสมหะในคอ
เมล็ด : รสขมหอม คั่ว บดเป็นผงหรือต้มดื่ม แก้ซาง ขับเสมหะ แก้ไข้ แก้พิษไข้ร้อน บำรุงน้ำดี
ราก : รสจืดเย็น แก้ไข้ ถอนพิษ แก้ไข้กลับไข้ซ้ำ ถอนพิษผิดสำแดง ฝนกับสุราทาแก้ปวดฝี แก้พิษอักเสบ
การใช้ประโยชน์อื่นๆ
- ปลูกเป็นแนวรั้ว ทึบ มีหนาม หนาแน่น
- น้ำมันหอมระเหยจากเปลือก จากใบ และน้ำมันกึ่งแห้งได้จากเมล็ดนำมาใช้ทำสบู่ น้ำมันมะนาวที่แหล่งที่ดีที่สุดของเมือง chitral ทางตะวันออกเฉียงเหนือของปากีสถาน ถูกใช้ในการผลิตน้ำหอม สบู่ หมากฝรั่ง อาหารและขนมหวาน