ชำมะเลียงบ้าน

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อสามัญ : Chammaliang

ชื่ออื่น ๆ : โคมเรียง (ตราด, ภาคใต้); ชำมะเลียง, ชำมะเลียงบ้าน (ภาคกลาง); พุมเรียง (ภาคใต้); พุมเรียงสวน (ภาคกลาง); พูเวียง (นครราชสีมา); มะเถ้า (ภาคเหนือ)

วงศ์ : SAPINDACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh

ชื่อพ้องวิทย์ : Sapindus fruticosus Roxb., Otophora cambodiana Pierre.

ลักษณะสำคัญ : กิ่งบางครั้งมีช่องอากาศ หูใบเทียมคล้ายใบติดเป็นคู่ที่โคนก้านใบ รูปรีกว้างหรือกลม ยาว 2-4 ซม. มีก้านสั้น ๆ ใบประกอบปลายคี่ เรียงเวียน ใบย่อยมี 5-7 คู่ เรียงสลับหรือตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 9-40 ซม. ใบปลายส่วนมากลดรูป ก้านใบยาว 3-5 มม. ช่อดอกออกตามกิ่งหรือซอกใบ ยาวได้ถึง 75 ซม. ก้านดอกยาวได้ถึงประมาณ 1 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปรีกว้าง ยาว 2-4 มม. ดอกสีม่วงอมแดงหรือขาว มี 4 กลีบ รูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาว 1.5-3 มม. ขอบมีขนครุย เกสรเพศผู้มี 5-8 อัน ก้านชูอับเรณูสั้นมาก ผลรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 1-3 ซม. สุกสีม่วงดำ มี 2 เมล็ด ยาว 1-2 ซม. มีขั้ว

ระบบนิเวศและการกระจาย : พบที่พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นตามชายป่า ริมลำธาร ป่าพรุ ป่าชายหาด ป่าฟื้นฟูจนถึงทุ่งหญ้า ความสูงจนถึง 1400 เมตร

การเพาะปลูก : มักพบในป่า ทนแล้งและน้ำท่วมขัง ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ดินเหนียวจนถึงดินทราย ทนความเป็นกรด

การขยายพันธุ์ : เมล็ด

ส่วนของพืชที่ใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อนกินเป็นผักสดหรือใช้ปรุงอาหาร ผลสุก

แหล่งเก็บหา : สวนยกร่อง สวนสมรม ป่าริมน้ำ

หมายเหตุ : ชำมะเลียง มีหูใบเทียมคล้ายใบติดเป็นคู่ที่โคนก้านใบ ช่อดอกออกตามกิ่ง ดอกสีม่วงอมแดง มี 4 กลีบ ผลกลมสุกสีแดงเข้มถึงดำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 ซม. เมล็ดขนาด 2 ซม. แตกต่างจากชำมะเลียงป่า

เมนูอาหารผักยืนต้น

ข้อมูลทางโภชนาการ

สรรพคุณทางยา

ราก : รสเมาเบื่อเย็น แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต ไข้กำเดา แก้ไม่ผูกไม่ถ่าย แก้ร้อนในกระสับกระส่าย แก้ระส่ำระส่าย บดเป็นยาพอกแก้คัน

การใช้ประโยชน์อื่นๆ

  • ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและผักยืนต้น
  • เนื้อไม้แข็งและทนทาน บางพื้นที่ใช้สร้างบ้าน