ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อสามัญ : Melinjo
ชื่ออื่นๆ : ขลียง khliang (Nakhon Si Thammarat) ผักกะเหรี่ยง phak kariang (Chumphon) ผักเมี่ยง phak miang (Phangnga) เรียนแก่ rian kae (Nakhon Si Thammarat) เหมียง miang (Phangnga)
วงศ์ : GNETACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gnetum gnemon L. var. tenerum Markgr.
ชื่อพ้องวิทย์ : –
ลักษณะสำคัญ : ไม้โตช้า
ระบบนิเวศและการกระจาย : กระจายพันทางจีน อินเดีย บังคลาเทศ เมียนมา กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินีถึงฟิจิ ในไทยพบป่าดิบชื้นที่ราบต่ำ ป่าผสมผลัดใบ พบมากทางภาคใต้
การเพาะปลูก : เติบโตได้ดีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีในช่วง 750-5000 มม. ชอบที่กึ่งร่ม ในดินที่มีฮิวมัสสูง และความชื้น ระบายน้ำดี ทนต่อดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ทนแล้งได้หลายเดือน ทนต่อลมแรงแต่ไม่ทนไอเกลือ พืชหยั่งลึกด้วยระบบรากแก้ว มีหลายสายพันธุ์หลายรูปทรง ทรงต้นไม้ (var. Gnemon)และมีผลขนาดใหญ่ด้วย ทรงไม้พุ่ม (vars., brunonianum, griffithii และ tenerum) พืชมีความสามารถปรับปรุงระดับไนโตรเจนในดิน โดยเชื่อมโยงเอคโตไมคอร์ไรซากับเชื้อรา Scleroderma sinnamariense หรือเห็ดก้อนฝุ่นเหลืองทอง,เห็ดไข่หงส์ พืชแยกเพศต่างต้นมีตัวผู้ตัวเมีย ผีเสื้อกลางคืนสกุล Pyralidae and Geometridae ช่วยผสมเกสร
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ดีที่สุดในแหล่งกำเนิด (in situ) รดน้ำทุกวัน ภายใน 3 เดือน หากไม่มีการเตรียมเมล็ด อัตราการงอกอาจจะ 1- 2% หรือไม่งอกเลย หรือขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง และปักชำ
ส่วนของพืชที่ใช้ประโยชน์ : ใบ ยอดอ่อน ผลและเมล็ด
แหล่งเก็บหา : สวนสมรม ชายป่า
เมนูอาหารผักยืนต้น
ผักกินใบยอดนิยมของคนภาคใต้ ขึ้นได้ดีทั้งเขตป่าโปร่งและป่าทึบที่มีแสงแดดน้อย ด้วยลักษณะใบที่ค่อนข้างบาง แต่ไม่ยุ่ยเละง่ายเมื่อถูกความร้อน จึงนิยมผัดไข่ และต้มกะทิใส่กุ้งแห้ง กินแก้เผ็ดในสำรับที่มีแกงเผ็ดปักษ์ใต้รสจัดข้อดีของใบเหมียงอีกประการหนึ่งคือทนทานต่อการเคลื่อนย้ายที่ใช้เวลานาน จึงเริ่มเป็นที่นิยมทั่วไปในการปรุงกับข้าวของภาคอื่นๆมากขึ้น โดยอาจกินเป็นใบห่อเมี่ยงแบบต่างๆได้เช่นเดียวกับในทองหลาง ชะพลู หรือผักกาดหอม
ผักเหมียงมีเบต้าแคโรทีนสูง น่าแปลกที่เบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารสีส้มกลับไม่ถูกมองเห็นในใบเหมียง อาจเป็นเพราะถูกสีเขียวของใบผักบดบังจนหมด
ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย นิยมเอาเนื้อในเมล็ดเหมียงมาทำข้าวเกรียบ
ยอดและใบอ่อนเหมียงเป็นผักยอดนิยมของคนภาคใต้ กินสด ลวก ผัดไข่ หรือต้มกะทิใส่กุ้งแห้งได้อร่อย มีรสมัน และเนื้อใบไม่เละง่ายเมื่อถูกความร้อน
เครื่องปรุง
ใบเหมียง กระเทียมสับ ไข่ไก่ น้ำมัน เกลือป่น กุ้งแห้งทอด
วิธีปรุง
ตั้งกระทะน้ำมันจนร้อน เจียวกระเทียม พอเหลืองหอมดีจึงใส่ใบเหลียงผัดพอสลด ปรุงรสเค็มด้วยเกลือป่น ใส่ไข่ไก่ลงผัดเคล้าเบาๆ จนไข่สุกนุ่ม โรยกุ้งแห้งทอด เคล้าให้เข้ากัน
ข้อมูลทางโภชนาการ
ผักเหลียง 100 กรัม
1.พลังงาน 400.61 แคลอรี่
2.ไขมัน 1.17 กรัม
3.โปรตีน 6.56 กรัม
4.ฟอสฟอรัส 224.37 ม.ก.
5.วิตามินเอ 10.889 ไมโครกรัม
6.วิตามินบี 1 0.18 ม.ก.
7.วิตามินบี 2 1.25 ม.ก.
8. วิตามินไนอาซิน 1.73 ม.ก.
9.น้ำ 35.13 กรัม
10.คาร์โบไฮเดรต 90.96 กรัม
11.แคลเซียม 1,500.56 ม.ก.
12.เหล็ก 2.51 ม.ก.
13.เถ้า 1.30 กรัม
ที่มา : กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน และกองโภชนาการกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข
หมายเหตุ : จากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่า ผักเหลียง 100 กรัม หรือ 1 ขีด ไม่รวมก้าน ให้เบต้าแคโรทีนสูงถึง 1,089 ไมโครกรัมหน่วยเรตินัล สูงกว่าที่มีในผักบุ้งจีน 3 เท่า มากกว่าผักบุ้งไทย 5-10 เท่า และมากกว่าใบตำลึง
สรรพคุณทางยา
การใช้ประโยชน์อื่นๆ
- ต้นไม้อเนกประสงค์ เป็นไปได้ที่ใช้ในการฟื้นฟูพื้นที่แห้งแล้งและปลูกป่า ในปาปัวนิวกินีพบเติบโตควบคู่ไปกับต้นไม้สกุลขนุน (Artocarpus spp.) สกุลทุเรียน (Durio spp.) สกุลสะตอ (Parkia sp)
- เยื่อไม้มีความทนทานสำหรับทำแห อวนจับปลา เชือก ถุงสาน
- ควันไม้ช่วยลดยุงก้นปล่องกัดได้ เอนไซม์ช่วยยับยั้งการรุกรานของแมลง
- ไม้ใชทำเยื่อกระดาษ ก่อสร้างบ้าน และกล่อง