การเลี้ยงไก่ไข่สาว(แบบรวมฝูงกึ่งปล่อย)

โรงเรือน

  1. ขนาดพื้นที่ต่อเล้า (กัดแดด ลม ฝน) 10ตรม. ต่อไก่ไข่สาว50ตัวและล้อมตาข่ายโดยรอบเพิ่มพื้นที่เล้า10ตรม. ต่อไก่ไข่สาว50ตัว เพื่อเพิ่มพื้นที่ คุ้ย เขี่ย วิ่งเล่น ลดอาการเครียดให้ไก่ไข่สาว จะทำให้ไก่ไข่สม่ำเสมอ
  2. พื้นเล้านอนควรรองด้วยวัสดุแห้งเช่น แกลบ ขี้เลื่อย ทราย ฟางข้าว หนา 3-5ซม.
  3. เตรียมถาดอาหารและถาดน้ำ1อันต่อไก่ไข่10ตัว (น้ำต้องมีเสมอ)
  4. เตรียมรังไข่ 1รังต่อไก่ไข่4ตัว (ควรเก็บไข่สะดวก ป้องกันไข่แดกได้ดี เพื่อป้องกันไก่กินไข่ตัวเองจนติดป็นนิสัย)
  5.  

ช่วงอายุไก่

  1. ลูกไก่ไข่1วันถึง3เดือน
  2. ไก่ไข่สาว4-5เดือน
  3. ไก่ไข่ระยะเริ่มให้ไข่6-7เดือน
  4. ไก่ไข่จะมีอายุการออกไข่ประมาณ 16-18เดือน (1.4-1.6ปี) (นับจากเริ่มไข่ฟองแรก) หลังจากนั้นไข่จะค่อยๆลดลงจนไม่คุ้มทุน

อัตรารอบการออกไข่เฉลี่ยของแม่ไก่

โดยปกติไก่ไข่จะออกไข่เฉลี่ย 1ฟองต่อวัน แม่ไก่บางตัวสามารถออกไข่วันละฟองติดต่อกันหลายวันโดยไม่มีการหยุดไข่ ลักษณะแม่ไก่ที่ดีควรออกไข่ติดต่อกันอย่างน้อย4ฟองแล้วค่อยหยุดไข่1วัน โดยเฉลี่ยแม่ไก่1ตัวควรออกไข่5-6ฟองต่อสัปดาห์ (ซึ่งลักษณะพันธุกรรมที่ดีสามารถถ่ายทอดได้ควรเลือกสายพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพ)

อาหารไก่

  1. อาหารไก่ไข่สาวควรมีโปรตีน 16-18% (หากทำอาหารเอง ควรมีพืชอาหารสัตว์ เช่น หญ้าขน ต้นกล้วยใบกล้วย กระถิน เป็นส่วนผสมหลักเพื่อให้ไก่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและให้ไข่สีสวย)
  2. ไม่ควรเปลี่ยนอาหาร หรือส่วนผสมที่แตกต่างไปจากเดิม (รวมถึงเปลี่ยนยี่ห้ออาหารหารไก่) จะทำให้ไก่ไข่กินอาหารได้น้อยลงไม่คุ้นเคยกับอาหารแบบใหม่ ทำให้ไก่ออกไข่น้อยลง หรือหยุดไข่ 15-90วัน
  3. ควรให้อาหารตรงเวลาเสมอ เพื่อให้ไก่ออกไข่ได้สม่ำเสมอ เช่น ให้อาหารเช้า 08.00น.และบ่ายช่วง15.00น.
  4. ไก่ไข่สาวจะกินอาหารเฉลี่ย100กรัม (1ขีด)/ตัว/วัน (ไก่ไข่ที่ไข่แล้วประมาณ3เดือนจะกินอาหารเฉลี่ย110กรัม (1.1ขีด)/ตัว/วัน
  5. อาหารไก่ไข่ผสมเองสวนชีววิถี
ส่วนผสมปริมาณ
ข้าวเปลือกบด 1กก.
ข้าวโพดบด1กก.
พืชสด เช่น หญ้าขน ต้นกล้วย กระถิน5กก.
ขมิ้นชันผง20กรัม
บอระเพ็ดผง20กรัม
ฟ้าทะลายโจรผง20กรัม

ป้องกันโรคและการสุขภิบาล

  1. ควรให้วัคซีนป้องกันโรค นิวคลาสเซิลและหลอดลมอักเสบ ทุก3เดือน
  2. เวลาให้อาหาร ควรสังเกตลักษณะอาการไก่ ไก่ควรกินอาหารพร้อมกันทุกตัว (หากพบตัวที่ไม่กินอาหารหง๋อย ซึม ยืนเอาหัวซุกปีกควรแยกออกจากฝูงโดยเร็ว
  3. ไม่ควรเลี้ยงบริเวณมีเสียงดังรบกวน หรือทำให้ตกใจได้ง่าย จะมีผลทำให้ไก่ไข่ลดลงหรือหยุดไข่ หรือตายได้
  4. ดูแลทำความสะอาดเล้า ให้สะอาดเสมอ ไม่มีจุดอับแสง หรือน้ำขังจะทำให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค
  5. เล้านอนควรป้องกันยุงแมลงต่างๆ
  6. เล้าควรมีความมั่นคง แข็งแรง ป้องกัน สัตว์ที่เป็นอันตรายกับไก่ได้ เช่น สุนัข แมว งู ฯ
  7. เล้านอนควร ปิดมิดชิดป้องกันลมและฝนในฤดูนั้นๆและระบายอากาศได้ดีในฤดูร้อน