ผักสวนครัว

เห็ดตับเต่า บรรณาการทรงคุณค่าจากป่าและระบบนิเวศเกษตร

เห็ดตับเต่า (ชื่อวิทยาศาสตร์ Thaeogyroporus porentosus ) หรือทางภาคเหนือเรียกว่า เห็ดห้า ภาคอีสานเรียกว่า เห็ดน้ำผึ้ง เป็นเชื้อราพวกเอ็กโตไมคอร์ไรซ่า (Ectomycorrhiza) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อรากับระบบรากของพืชชั้นสูง โดยอิงอาศัยกันและกัน โดยพบว่าเห็ดตับเต่าสามารถอยู่ร่วมกับไม้ยืนต้นหลายชนิด เช่น การรบกวนระบบนิเวศตามธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงระบบการปลูกพืชจากสวนผสมผสานเป็นการปลูกพืชหรือไม้ผลเชิงเดี่ยว การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่งผลต่อการลดลงของเห็ดตับเต่า และส่งผลต่อเนื่องทำให้ไม้ยืนต้นเจริญเติบโตลดลง การขยายพันธุ์เห็ดตับเต่า โดยวิธีธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นได้หลายทาง เช่น 1) โดยอาศัยตัวเห็ดเอง จากสปอร์ของเห็ดที่แก่แล้ว ถูกฝนชะล้างไปในบริเวณใกล้เคียงที่มีพืชอาศัยอยู่ใกล้กัน หรือจากเส้นใยเห็ดราที่แตกแขนงไปในดิน วิธีนี ต้องมีพืชอาศัยชนิดเดียวกันเกิดใกล้ชิดติดกัน การแพร่ระบาดไปได้ช้าแต่มีโอกาสแน่นอนกว่า 2) โดยอาศัยสัตว์ที่มากินดอกเน่าแล้วติดเอาสปอร์ของเห็ดไปแพร่ระบาดในที่ห่างไกล วิธีนี การกระจายพันธุ์ไปได้ไกลกว่าแต่โอกาสที่จะไปตกบริเวณที่มีพืชอาศัยน้อยลง ส่วนการจัดระบบนิเวศให้เกิดเห็ดตับเต่าโดยมนุษย์นั้น โดยปลูกเชื้อให้แก่ต้นพืชอาศัย ซึ่งสามารถทำดังนี้ 1. เลือกชนิดของต้นไม้ที่สามารถอยู่ร่วมกับเชื้อเห็ดตับเต่าได้2. ใส่เชื้อเห็ดลงไปในส่วนของรากต้นไม้เหล่านั้น ซึ่งสามาถทำได้หลายวิธี เช่น– ขูดเอาผิวดินที่เคยมีเห็ดขึ้น และเห็ดเก่าปล่อยสปอร์ไว้ เอาดินดังกล่าวมาใส่ตรงโคนต้นไม้ข้างต้น– นำเห็ดแก่จนมีสปอร์มาขย้าหรือล้างน้ำให้สปอร์หลุด แล้วเอาน้ำล้างดอกเห็ดมาเจือจางด้วยน้ำ ราดตรงโคนต้นไม้ที่เป็นพืชอาศัย ซึ่งจะทำให้ต้นไม้ต้นเล็กเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยการรดน้ำให้ความชื้นจะทำให้เกิดเห็ดตับเต่าขึ้นใน– นำดอกเห็ดแก่หรืออ่อนก็ได้ใส่เครื่องปั่นผลไม้ ปั่นจนละเอียดแล้วผสมน้ำรดโคนต้นไม้– เพาะเลี้ยงเส้นใยเชื้อเห็ดในอาหารวุ้นหรืออาหารเหลว เมื่อได้ปริมาณมากพอจึงนำไปปั่นกับน้ำแล้วไปรดบริเวณต้นไม้– […]

สวนชีววิถี(GDPARK)

June 28, 2023
1 2 12